การปฏิบัติงานและคุณค่าของ “วิจัยการแสดง” สำหรับนักวิชาการด้านการละคร/การแสดง ในมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การวิจัยสร้างสรรค์, วิจัยการแสดง, วิจัยแบบปฏิบัติการ, การแสดงบทคัดย่อ
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบข้อสงสัยกังวลของคณาจารย์ในสาขาการละคร ดนตรีและการแสดง หลังจาก มีการประชุมรายงานก้าวหน้าของโครงการวิจัยชื่อ วิจัยการแสดง : สร้างสรรค์งานวิจัยใน สาขาศิลปะการแสดงไทยร่วมสมัย ในปีแรก (สิงหาคม 2559-กรกฏาคม 2560)
ซึ่งผู้เขียนได้รับทุนจาก ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) โครงการทั้ง 8 โครงการภายใต้ชื่อ โครงการวิจัยการแสดงนี้มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นงานวิจัยแบบปฏิบัติการ (Practice as Research) ที่ต้องมีการลงมือปฏิบัติ
สร้างผลงานสร้างสรรค์ และมีการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานที่ละเอียด ด้วยหลากหลายกลวิธี
ผู้เขียนพัฒนาบทความนี้เพื่ออธิบายถึง โจทย์วิจัย และระเบียบวิธีวิจัยของการทำงานวิจัยลักษณะนี้ ที่ศิลปิน-ผู้ทำวิจัยต้องตั้งโจทย์วิจัย และออกแบบ-วางแผนกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ ผลงานการแสดง เพื่อตอบโจทย์วิจัยของตนได้ การวิจัยแบบปฏิบัติยังการต้องการการออกแบบ กระบวนการบันทึกข้อมูล ระหว่างการปฏิบัติการในห้องซ้อมที่เป็นระบบระเบียบ ผู้วิจัยต้องออกแบบคู่ขนานไปกับระเบียบวิธีวิจัย
การเขียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ กระบวนการทำงานผู้เขียนควรเลือกอภิปรายเฉพาะช่วงที่เกิดการปัญหา และการปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือเป็นช่วงที่สำคัญทำให้เกิดการเรียนรู้นำสู่การตอบโจทย์วิจัย หรือ
การเรียนรู้อื่นที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานวิจัย ผลงานวิจัยของการวิจัยแบบปฏิบัติการ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ผลงานการแสดงที่เป็นการแสดงสด หรือคลิปการแสดง สารคดีภาพหรือคลิปขั้นตอนการพัฒนางานวิจัย และบทความวิจัยขนาดยาว น่าจะช่วยสื่อสาร บันทึกองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการสร้างสรรค์
ผู้เขียนคาดหวังว่า ผลงานวิจัยของครู-ศิลปินที่เป็นนักวิจัยในโครงการนี้จะช่วยให้ เกิดความเข้าใจ ในการค้นหา ค้นพบความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานทางการแสดง และเป็นรากฐานสำคัญในการต่อยอดการทำวิจัยลักษณะนี้ในอนาคตได้ต่อไป