การศึกษาเพลงสองไม้เรื่องเต่าทองทางฆ้องวงใหญ่ โดยการถ่ายทอดของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ

ผู้แต่ง

  • ศุภศิระ ทวิชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

เพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง, เพลงเรื่อง, พิชิต ชัยเสรี, ภัทระ คมขำ

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์เพลงถือเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาทฤษฎีดนตรีไทย แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณจารย์ในการสร้างสรรค์ทำนองเพลง ทางที่นำมาวิเคราะห์นั้น เป็นทางของครูพิชิต ชัยเสรี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินที่มีความสามารถทางดนตรีไทยทั้งทางวิชาการและทางปฏิบัติ
เพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง หน้าทับสองไม้ สองชั้น ทางครูพิชิต ชัยเสรี โดยการถ่ายทอดของผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทระ คมขำ พบการใช้บันไดเสียงโดหรือทางนอก และบันไดเสียงซอลหรือทางในเป็นหลัก มีการเปลี่ยนบันไดเสียงในช่วงต้นของท่อนที่ 6 จากบันไดเสียงซอลหรือทางใน
เป็นบันไดเสียงเรหรือทางกลางแหบ ด้านทำนอง พบลักษณะการใช้โน้ตกระโดด ประทุน การสลับตำแหน่งของโน้ต การเคลื่อนที่ในวิถีขึ้นและวิถีลงมาหาลูกตก การลดรูปโน้ต ด้านเทคนิคการบรรเลง มือขวา ประกอบด้วย แหนะ หนะ หนอด โหน่ง และ มือซ้าย ประกอบด้วย แตะ ตะ ตี่ ตึ้ง
ในท่อนที่ 4 และท่อนที่ 6 ในเพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง มีลักษณะเด่น คือ ลูกโยน แสดงถึงการจะจบท่อน ในท่อนที่ 5 มีการเปลี่ยนบันไดเสียง เป็นการแก้ไขปัญหาระดับเสียงที่ไม่ตรงกัน และยืนในบันไดเสียงเดิม ในท่อนที่ 1-4 และ 6-10 ลูกโยนในเพลงสองไม้เรื่องเต่าทอง ท่อนที่ 1-10 นั้น
มีลักษณะจังหวะเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนเสียง โดยลูกโยนในท่อนที่ 1-3 มีลักษณะทำนองและบันไดเสียงเดียวกัน ลูกโยนในท่อนที่ 4-10 มีลักษณะทำนองเดียวกันกับท่อนที่ 1-3 แต่มีการเปลี่ยนบันไดเสียง ขั้นคู่ที่พบในทุกท่อน ได้แก่ คู่ 2 คู่ 4 คู่ 5 และคู่ 8 พบการใช้คู่ 8 มากที่สุด และพบคู่ 3 ในท่อนที่ 2-4 และท่อนที่ 9 ท่อนที่มีการสลับตำแหน่งของโน้ต ได้แก่ ท่อนที่ 4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2019