แนวคิดการแสดงเพื่อการสร้างสรรค์การขับร้องเพลงไทย

ผู้แต่ง

  • สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การแสดงร่วมสมัย, การสร้างสรรค์การขับร้องเพลงไทย, การแสดง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์การขับร้องและการสร้างสรรค์จากผลงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยเรื่อง ลงเกี้ยวและพญาฉัททันต์” ผลงานการแสดงทั้งสองผลงานเป็นการสร้างสรรค์บทเพลงเพื่อการแสดงร่วมสมัยภายใต้การกำกับดนตรีโดยสินนภา สารสาส จำนวน 4 บทเพลงได้แก่ เพลงลงเกี้ยว (Long Keaw), เพลงลงสรง (Bathing of Phaya Chattan), เพลงล่า (The Hunt), และเพลงสละงา (The Sacrifice) เป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่จากทำนองเพลงไทยเดิมคือ เพลงโอ้โลมและโอ้ชาตรี
ในฐานะผู้ขับร้องบทเพลงทั้ง 4 เพลงนี้ผู้เขียนใช้กลวิธีของการแสดงละครเวทีมาปรับใช้ในการขับร้องได้แก่การวางลักษณะอุปนิสัยของตัวละคร จุดมุ่งหมายของการร้อง การตีความบทเพลง และความต้องการของตัวละครเพื่อเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึกกับเทคนิคในการขับร้องเพลงไทยจนสามารถปรับใช้ในการร้องเพลงไทยในการแสดงที่มีอารมณ์ ความรู้สึกในฐานะตัวละครในการแสดงร่วมสมัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2019