การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสืบทอด, ดนตรีไทย, ตำบลบ้านปึก, จังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาการสืบทอดดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาบทบาทของคณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี
จากการศึกษาพบว่า คณะดนตรีไทยในตำบลบ้านปึก จังหวัดชลบุรี มี 2 คณะ คือคณะดนตรีไทยจั่นประสิทธิ์ และคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ซึ่งทั้ง 2 คณะก่อตั้งขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 คณะจั่นประสิทธิ์ มีครูเล็กและครูปุ๊ย ทองเต็ม เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาครูแสวง ปุยรักษา นักดนตรีไทยจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านดนตรีไทยมาจากสายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เข้ามาเป็นผู้ดูแลวง เนื่องจากครูแสวง ปุยรักษา มีฝีมือความสามารถและมีความรู้เรื่องเพลงเป็นอย่างดี ทำให้คณะดนตรีไทย จั่นประสิทธิ์ มีชื่อเสียงโดดเด่นทั้งในตำบลบ้านปึกและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ภายหลังจากนักดนตรีในยุคครูแสวง ปุยรักษา ถึงแก่กรรม คนในตระกูลส่วนใหญ่เลือกประกอบอาชีพอื่นๆ ทำให้ไม่มีการสืบทอดอาชีพนักปี่พาทย์ของคนในตระกูลอีก ปัจจุบันแม้มีคนในตระกูลคือครูละเอียด คชวัฒน์และครูมงคล คชวัฒน์ เป็นผู้สืบทอดดนตรีไทย แต่การประกอบอาชีพครูในสถาบันการศึกษาทำให้ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา
คณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต เดิมชื่อคณะปี่พาทย์ครูองุ่น แสงจิต เนื่องจากมีครูองุ่น แสงจิต เป็นผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันคณะจึงเปลี่ยนชื่อเป็นคณะดนตรีไทยผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต ตามชื่อผู้สืบทอด ความสามารถในการพัฒนาอาชีพตามความนิยมของคนในสังคมทั้งการสร้างวงปี่พาทย์มอญ
วงแตรวง มีเครื่องไฟฟ้าเพื่อสร้างสีสันในการบรรเลง อีกทั้งยังศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการการฟังดนตรีไทยจากคณะดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงทางวิทยุ และการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักดนตรีด้วยกัน ทำให้คณะดนตรีไทย ผู้ใหญ่ถาวร แสงจิต มีการพัฒนาจนเป็นแบบอย่างของวงดนตรี
ซึ่งมีชื่อเสียงในแถบจังหวัดชลบุรี ยังคงสืบทอดอาชีพดนตรีไทยและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพทั้งยังมีบทบาทในการสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020