จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการพัฒนานาฏกรรม

ผู้แต่ง

  • พันพัสสา ธูปเทียน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นาฏกรรมไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การฝึกฝนนาฏกรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการด้านนาฏกรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ก่อตั้ง จนถึง พ.ศ. 2561 โดยทำการศึกษานโยบาย กิจกรรม และหลักสูตรด้านนาฏกรรม จากการวิจัยพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พยายามปรับตัวให้เข้ากับโลกในศตวรรษที่ 21 เน้นการสร้างทักษะตาม แบบของเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นการบูรณาการข้ามศาสตร์และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ผู้วิจัยแบ่งยุคทางด้านนาฏกรรมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ ยุคบุกเบิก ยุคกิจกรรมงานละครวันปิดภาค ยุคนาฏกรรม ในระบบการเรียนการสอนและละครประจำปีของแต่ละคณะ ยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและยุคนิเวศนวัฒนธรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และยุคนิเวศนวัตกรรม ผลการวิจัยแสดงว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเสมือนต้นแบบที่สำคัญ 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ต้นแบบของการเป็นจุดเชื่อมระบบการถ่ายทอดนาฏกรรมแบบดั้งเดิมสู่ระบบการศึกษาแบบสถาบัน การเป็นจุดผสานระหว่างวัฒนธรรมไทยและตะวันตก การเป็นแหล่งเผยแพร่แนวคิดทางนาฏกรรมที่หลากหลาย และการเป็นแบบอย่างของการฝึกฝนและพัฒนานาฏกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้สร้างแนวคิดการบูรณาการข้ามศาสตร์ด้านนาฏกรรมขึ้น เป็นแห่งแรกในประเทศไทยอันเป็นวิถีที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ด้วยรูปแบบการทำกิจกรรมร่วมกัน ของนิสิตและคณาจารย์ทุกคณะซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงกล่าวได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งบ่มเพาะทางนาฏกรรมของชาติโดยแท้จริง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020