กลวิธีการเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ของครูสอน วงฆ้อง กรณีเพลงแขกมอญสามชั้น

ผู้แต่ง

  • วิชา ศรีผ่อง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

กลวิธี, เดี่ยวฆ้องวงใหญ่, สอน วงฆ้อง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์กลวิธีการเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญสามชั้น บรรเลงโดยครูสอน วงฆ้อง โดยเจาะจงศึกษาจากแถบบันทึกเสียงซึ่งบรรเลงโดยครูสอน วงฆ้อง ณ ห้องบันทึกเสียงนวลน้อยในโครงการบันทึกฝีมือครูอาวุโสของกรมศิลปากร ทำการบันทึกและตรวจสอบโน้ต เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย ฆ้องวงใหญ่ (2553) ทำการศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2561-2563 ได้ผลการวิจัยดังนี้  
ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแขกมอญสามชั้นทั้งหมด 18 จังหวะหน้าทับหรือ 72 บรรทัด พบกลวิธีการบรรเลงฆ้องวงใหญ่ที่โดดเด่น คือ กลุ่มการตีประคบมือ ครูสอนใช้มือขวาตีเสียงโหน่งมากที่สุดและใช้เสียงหนอดน้อยที่สุด ส่วนมือซ้ายใช้การประคมมือเสียงติงมากที่สุดและใช้เสียงติดกับเสียงตีดน้อยที่สุด นอกจากนี้พบว่าการตีสะบัดจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ การกรอ การไขว้และการกวาดตามลำดับ ส่วนการตีกระทบคู่พบ พบว่าใช้คู่ 8 มากที่สุดและใช้คู่ 9 คู่ 10 คู่ 11 จำนวนหนึ่ง ทั้งนี้จุดเด่นของเพลงแขกมอญสามชั้นมีลักษณะทำนองที่เหมือนกันในท้ายแต่ละท่อน ส่งผลให้การประดิษฐ์ทางเดี่ยวที่แตกต่างกันออกไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020