การออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงชรา ภายใต้รูปแบบศิลปะลัทธิคิวบิสม์
คำสำคัญ:
การออกแบบเครื่องแต่งกาย, ศิลปะคิวบิสม์, ละครเวทีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มาจากการวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง การออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงชราภายใต้รูปแบบศิลปะลัทธิคิวบิสม์มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการสร้างสรรค์งานออกแบบและ
จัดสร้างเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงชราภายใต้รูปแบบศิลปะลัทธิคิวบิสม์ การวิจัย
ครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายในละครเวทีเรื่องการมาเยือนของ
หญิงชราจากบทดัดแปลงและกำกับการแสดงโดย อาทรี วณิชตระกูล ผลการวิจัยพบว่าศิลปะคิวบิสม์เป็นศิลปะที่หลีกหนีความงามในลักษณะแบบเดิมเป็นการค้นหาความงามแบบใหม่ที่ไม่ได้เกิดจากการเลียนแบบความงามตามปกติที่ได้จากรสสัมผัสทางการมองเห็น กระบวนการออกแบบได้แบ่งตัวละครออกเป็น 4 กลุ่มคือ ผู้มาเยือน ผู้มาต้อนรับ ผู้มาแล้วจากไปและผู้เร่งเร้าในการตัดสินใจ การวิจัยกำหนดใช้ศิลปะลัทธิคิวบิสม์เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายละครเวทีเรื่องการมาเยือนของหญิงได้กำหนดแนวทางการออกแบบให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับตัวละครหลักของเรื่องโดยใช้เทคนิคการสร้างรูปทรงของเครื่องแต่งกายให้มีการทับซ้อน และมีการแสดงอารมณ์ภายในโดยกำหนดสีหลักคือสีน้ำเงินที่มาจากจินตภาพที่ทำงานกับผู้กำกับผสมกับเครื่องแต่งกายแบบนิวลุค (new look) ในยุค 1940 เพื่อให้สะท้อนสภาพตัวละครและ
เกิดการเปรียบเทียบกันของตัวละครในเรื่อง การออกแบบเครื่องแต่งกายใช้เทคนิคการตัดเย็บเพื่อทำให้ตัวละครแต่ละกลุ่มมีสถานภาพและชนชั้นในสังคม ความสัมพันธ์ด้วยการสร้างความเด่นชัดและการสร้างบุคลิกลักษณะใหม่ของตัวละครเพื่อเป็นไปตามแนวคิดที่ผู้กำกับการแสดงกำหนดไว้จึงสามารถทำให้ภาพตัวละครชาวเมืองกูเลนที่ต้องการให้เห็นความผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวไม่สมจริงและความต้องการภายในของตัวละครเอกปรากฏภาพบนเวทีอย่างชัดเจน