ร่ายใน-ร่ายนอก : การดำเนินเรื่องของโขนละคร

ผู้แต่ง

  • จันทนา คชประเสริฐ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ร่ายใน, ร่ายนอก, ละครใน, ละครนอก

บทคัดย่อ

ร่ายในและร่ายนอกเป็นทำนองร้องสำหรับดำเนินเรื่องของโขนละคร ด้วยเพราะบทบรรยายการร่ายรำต้องการความรวดเร็วจึงไม่บรรจุเพลงร้อง จึงใช้เพลงร่ายแทน ร่ายในใช้สำหรับโขนและละครใน ส่วนร่ายนอกใช้สำหรับละครนอกและละครทั่วไป
ร่าย ถ้าเป็นละครในเรียกว่าร้องร่ายในและเพลงที่ลงท้ายด้วยใน เช่น เพลงช้าปี่ใน, เพลงปีนตลิ่งใน ถ้าเป็นละครนอกเรียกว่าร้องร่ายนอกและเพลงที่ลงท้ายด้วยนอก เช่น เพลงช้าปี่นอก,เพลงปีนตลิ่งนอก
ร่ายใน ด้วยละครในนั้นเกิดขึ้นในวัง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน ลีลาการร่ายรำสวยงาม เพราะฉะนั้นในการขับร้องต้องมีลีลาและดูตัวละครประกอบ การขับร้องปรับปรุงให้มีทำนองและจังหวะนิ่มนวล สละสลวย เหมาะสมกับลีลาท่าร่ายรำที่อ้อนช้อยงดงามตามขนบจารีตของละครในราชสำนัก
บทบรรยายการร่ายรำต้องการความรวดเร็วจะไม่ใส่เพลง จึงใช้เพลงร่ายในเป็นเพลงเดินเรื่อง
ร่ายนอก ด้วยละครนอกนั้นเกิดขึ้นนอกวัง ส่วนใหญ่ใช้ผู้ชายแสดง เพราะฉะนั้นลีลาการรำไม่เหมือนอย่างละครใน ฉะนั้นจะร้องรวดเร็ว การดำเนินเรื่องต้องการบรรยายใช้เพลงร่ายเหมือนกับละครใน แต่เรียกว่าร้องร่ายนอก ร่ายนอกจะร้องยืดแบบร่ายในไม่ได้ เพราะต้องการความรวดเร็ว
ต้องการรู้เรื่องเร็ว ส่วนละครในต้องลีลาการร่ายรำเป็นใหญ่ ทำอย่างไรถึงชัดเจน ถึงจะเพราะ ร่ายนอกไม่ต้องพิถีพิถันในการร้อง
สิ่งสำคัญของวิธีการร้องร่ายคือต้องร้องกดเสียงจึงจะถูกต้องในการร้องร่าย ไม่ควรร้องเร็วเพราะจะเรียกว่าร้องเหนอ คือการร้องแล้วไม่กดเสียง คำร้องต้องชัดเจนและเรื่องจังหวะต้องกระชับ



Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2021