ประวัติและคุณลักษณะทางดนตรีของเพลงพื้นบ้านลำพวนโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี
คำสำคัญ:
เพลงพื้นบ้าน, ลำพวน, โคกปีบบทคัดย่อ
คำว่า “พวน” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองพวน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้ำสำคัญชื่อ “แม่น้ำพวน” จึงเรียกกลุ่มชนนี้ว่า “ชาวพวน” เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย ตำบลโคกปีบเป็นพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรีมีวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านในลักษณะวัฒนธรรมไทพวนหรือลาวพวน มีการขับร้องเพลงพื้นบ้านในแบบฉบับของตนเองเรียกว่า “ลำพวน” หรือ “ขับพวน” ในลักษณะการนั่งขับร้องกลอนโต้ตอบกันหรือขับร้องบรรยายเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพวน) ลำพวนมีท่วงทำนองช้าๆ เนื้อเรื่องมีทั้งดั้งเดิมและทันสมัย ฟังแล้วมีทั้งโศกเศร้าและออดอ้อน ปัจจุบันจัดแสดงลำพวนกันในงานเทศน์มหาชาติและงานบุญกฐินเท่านั้น บทเพลงลำพวนใช้เสียงร้องหลักของนักขับร้องจำนวน 1 คน สลับกับการร้องรับด้วยเสียง “ฮี้ว” ของผู้คนที่มาเข้าร่วม มีการขับร้องโต้ตอบ สลับกันระหว่างชายกับหญิงแบบขับร้องเดี่ยวสลับกันไปประกอบกับเครื่องดนตรี 1 ชิ้น คือ แคน