การเขียนบทละครเพลงว่าด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์

ผู้แต่ง

  • นฤทธิ์ ปาเฉย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

จิตร ภูมิศักดิ์, ละครเพลง, วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง

บทคัดย่อ

เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ มีอิทธิพลต่อประเทศไทยในด้านสังคม การเมืองและ ศิลปวัฒนธรรม มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงก่อน “เหตุการณ์ 14 ตุลา” หรือ “วันมหา-วิปโยค” พ.ศ. 2516 ถึงช่วงหลัง “เหตุการณ์ 6 ตุลา” หรือ “การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” พ.ศ. 2519 ผู้วิจัยศึกษาการผลิตเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะวัตถุดิบสร้างสรรค์เรื่องราวและวิธีการ นำเสนอ เพื่อเขียนบทละครเพลงที่แสดงให้เห็นการประกอบสร้างบุคคลต้นแบบผ่านเรื่องเล่า วิพากษ์การ เผยแพร่และสืบทอดอุดมการณ์ทางการเมืองผ่านบุคคลต้นแบบ และทำให้ผู้ชมตระหนักถึงอิทธิพลของการยึดติดบุคคลต้นแบบจนเกิดความขัดแย้งที่บานปลายสู่การใช้ความรุนแรง ผู้วิจัยใช้เพลงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินเรื่องและใช้วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง (multiple plots) เพื่อสื่อสารประเด็นดังกล่าว โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตเรื่องเล่า การเขียนบทละครเพลงและวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่อง ผลการศึกษาพบว่า วิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องด้วยการ “ตัดแปะ” (collage) โครงเรื่อง 3 โครงเรื่องบนโครงเรื่องใหม่ เป็นวิธีการที่กระตุ้นความคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ของผู้ชมต่อประเด็นที่ผู้วิจัยตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพลงจะไม่ได้ทำหน้าที่ดำเนินเรื่องเป็นหลัก แต่ทำหน้าที่ถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของตัวละคร เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจแรงผลักดันของตัวละครสำคัญ ที่ไม่สามารถแสดงความต่อเนื่องของการกระทำบนวิธีการนำเสนอแบบหลายโครงเรื่องได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-12-2021