ศึกษาการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กของ โครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ธนกร วิริยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พิมลมาศ พร้อมสุขกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชาลินี สุริยนเปล่งแสง มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ดนตรี, เด็กปฐมวัย, ดนตรีเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กของโครงการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้ง 3 สาขา ได้แก่ สาขาศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ สาขาศูนย์การค้าสยามพารากอน และสาขาศูนย์การค้าซีคอนบางแค ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้สอนที่มีประสบการณ์ ด้านการสอนหลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็กมากกว่า 5 ปี จำนวน 4 ท่าน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็ก หลักสูตรได้เปิดโอกาสแก่ผู้สอนในการออกแบบกิจกรรม จากวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ทางหลักสูตรกำหนด โดยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะกำหนดกิจกรรมให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันระหว่างระดับชั้น และเพิ่มเนื้อหาสาระทางดนตรีตามลำดับ 2. ด้านเทคนิคการสอน เป็นการสอนในรูปแบบย้ำทวน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจนเป็นธรรมชาติ 3. ด้านสื่อการสอน ผู้สอนได้นำเพลงเป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรมทางดนตรี และ 4. ด้านการประเมิน ผู้สอนใช้การสังเกตพัฒนาการของผู้เรียนในระหว่างปฏิบัติกิจกรรมทั้งการปฏิบัติเดี่ยว และการปฏิบัติกลุ่มตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีจดบันทึกรายละเอียดการเรียนการสอนรวมถึงพัฒนาการของผู้เรียนภายหลังการสอน เพื่อนำไปปรับปรุงการสอนให้ดียิ่งขึ้น

References

กมลธรรม เกื้อบุตร. (2554). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของกีรตินันท์ สดประเสริฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรี) มหาวิทยาลัยมหิดล.

กมลวรรณ ตังธนกานน์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จเร สำอาง. (2550). สมองดี ดนตรีทำได้. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทพรรณี พริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. (2550). ชุดการสอนวิชาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยเรื่องระดับเสียงและจังหวะ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เมทินี เตชะวิทยากุล. (2545). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีตามโครงการศึกษาดนตรีสำหรับ บุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

เลิศรัตน์ โตสิงห์. (2559). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนดนตรีปฐมวัยต่อครูดนตรีในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิตต์ธาดา เภาคำ. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้ดนตรีคลาสสิคและดนตรีสมัยนิยทเพื่อพัฒนาทักษะเปียโนของนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศราพงศ์ อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา. (2553). การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของครูในโรงเรียนเอกชน (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัชนา สุตมาตร. (2546). การศึกษาหลักสูตรและกระบวนการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของสถาบันจินตการดนตรีสถาบันดนตรีมีฟ้าและสถาบันดนตรีเคพีเอ็น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี). มหาวิทยาลัยมหิดล.

Ney. V. (1975). Music for Young Children. Dubuque, Iowa : William C. Brown.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022