กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์

ผู้แต่ง

  • พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กรรมวิธี, การสร้าง, บัณเฑาะว์, บุญรัตน์ ทิพย์รัตน์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องกรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทเกี่ยวกับบัณเฑาะว์ ชีวประวัติครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรี ด้านประวัติศาสตร์ ดนตรีพระราชพิธี และใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมเป็นเวลา 10 เดือน

ผลการวิจัยพบว่าบัณเฑาะว์ปรากฏในคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์พระศิวะ จึงใช้ในพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น บัณเฑาะว์มีส่วนประกอบทั้งหมด 9 ส่วน วิธีการบรรเลงแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือการแกว่งสำหรับการประโคมและการไกวสำหรับวงขับไม้ ในด้านการศึกษาประวัติชีวิตของครูบุญรัตน์พบว่าท่านเป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด เริ่มฝึกหัดการสร้างเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือตั้งแต่อายุ 20 ปีโดยได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้รับมอบกระสวนเครื่องดนตรีราชสำนักภาคกลางจากอาจารย์ภาวาส บุนนาค เสาบัณเฑาะว์เป็นผลงานการออกแบบที่ใช้เวลาศึกษาและพัฒนาด้วยตนเอง กรรมวิธีการสร้างบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ เริ่มจากการคัดเลือกวัสดุที่มีคุณภาพ และปรับวัสดุให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนการสร้างบัณเฑาะว์เริ่มด้วยขั้นตอนการเตรียมขอบบัณเฑาะว์ ทำโครงบัณเฑาะว์ ทำหัวขุน ทำเสาบัณเฑาะว์
ทำขันชะเนาะและประกอบบัณเฑาะว์ การกลึงบัณเฑาะว์ของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ มีรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ ยากที่ผู้อื่นจะลอกเลียนแบบได้ การกลึงลวดลายต่างๆ คมชัดเปี่ยมด้วยสุนทรียะในเชิงช่าง เป็นความประณีตในงานประณีตศิลป์ และการเก็บรายละเอียดที่งดงามชัดเจน จึงสร้างความเป็นอัตลักษณ์เชิงช่างของครูบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์อย่างแท้จริง

References

บุญรัตน์ ทิพย์รัตน์. ครูภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม. (16 พฤษภาคม 2563). สัมภาษณ์.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. ศาสตราภิชาณประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (22 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.

ประภาษ เพ็งพุ่ม. (2559). โสกันต์ : พระราชพิธีแห่งความทรงจำ. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 1488.

เปมิกา เกษตรสมบูรณ์. (2559). กรรมวิธีการสร้างโพนของ ครูฉลอง นุ่มเรือง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทระ คมขำ. รองศาสตราจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (20 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.

มนตรี ตราโมท. (2552). ดนตรีพิธีกรรม. ใน คณะกรรมการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 37 (ฝ่ายวิชาการ), เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง ดนตรีพิธีกรรม เนื่องโนโอกาสครบรอบ 75 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 37 วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (หน้า 6). กรุงเทพฯ: บริษัท เท็คโปรโมชั่น แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.

ยุทธกร สริกขกานนท์. (2547). เครื่องดนตรีพราหมณ์และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. ดุริยางคศิลปินอาวุโส กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (23 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.

วาทิน ศานติ์ สันติ. (20 ตุลาคม 2556). อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ที่มีต่อศิลปกรรมและวัฒนธรรมไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.thaiihdc.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=646:2556-10-22-01-31-19&catid=4:2557-06-25-06-55-40&Itemid=23.

ศิริ เอนกสิทธิสิน. (2558). กรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา ศักยาภินันท์. (2549). ศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิบปวิชญ์ กิ่งแก้ว. หัวหน้าภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (19 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.

สิริวัฒน์ คำวันสาและคณะ. (2539). อารยธรรมตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์.

สุรพล สุวรรณ. (2560). ผู้สืบสานบ้านครูช่างทำเครื่องดนตรีไทย ดีด สี ตี เป่า. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

อนันต์ ศรีระอุดม. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดงานเครื่องสูงและกลองชนะ กองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง. (20 กรกฎาคม 2563). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022