การเรียนการสอนดนตรี ผีผา (Pipa) ในโรงเรียนประถมศึกษา เมืองกุ้ยโจว ประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • หยาง ซูจิง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คมกริช การินทร์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผีผา, การเรียนการสอน, โรงเรียนประถม, กุ้ยโจว, ประเทศจีน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสอนดนตรี ผีผา ขั้นพื้นฐานสําหรับโรงเรียนประถมศึกษาในเมืองกุ้ยโจว ประเทศจีน” โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนดนตรีผีผา “Pipa” ในโรงเรียนประถมศึกษาในเมืองกุ้ยโจว ประเทศจีน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสังเกตการณ์ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จากครูสามคนของโรงเรียนประถมศึกษา
ในเมืองกุ้ยโจว ประเทศจีน ผลการศึกษา มีดังนี้

รูปแบบการสอน ในปัจจุบันของโรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่งยกเลิกชั้นเรียนดนตรี และได้มีการจัดชั้นเรียนดนตรีพื้นบ้านแทน โดยเครื่องดนตรี ผีผา (Pipa) เป็นเครื่องดนตรีจีนแบบดั้งเดิมชิ้นหนึ่งที่มีการจัดสอนให้กับนักเรียน รูปแบบการสอนประกอบด้วย 1. การสอนเทคนิคการใช้มือ มือขวาใช้ดีด เทคนิคของมือขวา ประกอบไปด้วย ตาล (tan) เตี่ยว (tiao) หลุนชื่อ (lunzhi) เซา (sao) และ ฟู (fu) ส่วนมือซ้ายใช้ในการบังคับเสียงจากสาย เทคนิคของมือซ้าย ประกอบด้วย ตุ่ย (tui) ลา (la) หัว (hua) และ โหรว (rou) 2. การสอนพื้นฐานแบบรวม เป็นการสอนวิธีการบรรเลงพื้นฐานแบบกลุ่ม 3. การสอนแบบตัวต่อตัวและรวมวง
การสอนแบบตัวต่อตัวและรวมวง เป็นการสอนแบบตัวต่อตัว รายคนสำหรับคนที่มีความสามารถแตกต่างกัน และสอนการปฏิบัติแบบรวมวงเพื่อให้นักเรียนได้มีทักษะการบรรเลงร่วมกับคนอื่น และ 4. การสอนแยกกลุ่มแบบพิเศษเป็นการรวมกลุ่มเด็กที่มีความสามารถใกล้เคียงกันเพื่อสอนเทคนิคการบรรเลงเฉพาะของผีผา

References

Wang Yinan. (2018). A brief history of the history of the Silk Road. Art Review, 571(20), 69-70.

Zhang Jingmei. (2001). Establishing a great education concept and revitalizing national education. Journal of Guizhou University for Nationalities (Philosophy and Social Sciences) (4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022