ระเบียบวิธีการบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศล ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
คำสำคัญ:
ปี่พาทย์มอญ, พาทยโกศล, ระเบียบวิธีการบรรเลง, พระราชพิธีถวายพระเพลิงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศล และศึกษาระเบียบวิธี การบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศลที่ใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ทายาท ลูกศิษย์ สมาชิกในวงปี่พาทย์มอญ คณะพาทยโกศลและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ผลการวิจัยพบว่า
ตระกูลพาทยโกศล นับทายาทได้ 8 รุ่น ผู้มีบทบาทสำคัญ คือ หลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ) และจางวางทั่ว พาทยโกศล วงปี่พาทย์มอญ บ้านพาทยโกศล สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยจางวางทั่ว เครื่องมอญเก่าแก่ที่สุดที่สร้างไว้เอง คือ ฆ้องโพธิ์ เอกลักษณ์ของวงปี่พาทย์มอญ คือชุดเครื่องมุกที่ประดับตราประจำตระกูล “พศ” และฆ้องกระแต ปรากฏในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2551
ระเบียบวิธีการบรรเลง พบว่าเพลงที่ใช้และรูปแบบการบรรเลงเป็นเอกลักษณ์ของบ้านพาทยโกศล ได้แก่ นาคบริพัตรทางมอญ ช้างประสานงาทางมอญ พม่าเห่ทางมอญ ซึ่งเป็นเพลงที่ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ประพันธ์ไว้ พบเพลงในการบรรเลงประโคมทั้งสิ้น 13 เพลง ได้แก่ ประจำบ้าน ยกศพ พญาขวัญ พญาโศก สองไม้เต่าทอง สองไม้สี่เกลอ ประจำวัดเสียงล่าง นาคบริพัตรทางมอญ พม่าเห่ทางมอญ ช้างประสานงาทางมอญ เขมรทม จะเด็ด และมอบเรือ
References
คมกริช การินทร์. (2555). มือฆ้องวงใหญ่บ้านพาทยโกศล. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.) ดนตรี, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นพพลน์ น้อยเศรษฐี. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (3 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.
นพวรรณ พาทยโกศล โปรียานนท์. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (15 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.
นิวัติ คงรำพึง. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (31 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
ภัทระ คมขำ. (2561). ดนตรีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. บทความทางวิชาการ : งานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 43 วันที่ 20 - 22 มกราคม 2561, มหาวิทยาลัยพะเยา.
มานิดา จั่นสุวรรณ์. (2552). ต้นแบบการจัดทำคลังข้อมูลเครื่องดนตรีไทยสำนักดนตรีบ้านพาทยโกศล. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) ดนตรี, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมศักดิ์ ไตรวาสน์. ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย. (31 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.
อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2558). ดนตรีในพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์. บทความวิชาการ : ข้อมูลจากศิลปกรรมสาร วารสารวิทยาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.