การสร้างชุดฝึกทักษะเพื่อการพัฒนาทักษะการสีซอสามสายคลอร้องของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยนาฏศิลป

ผู้แต่ง

  • ชนะชัย กอผจญ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ, การสีซอสามสายคลอร้อง, วิทยาลัยนาฏศิลป

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสีซอสามสายคลอร้อง เพื่อสร้างแบบพัฒนาทักษะการสีซอสามสายคลอร้อง สำหรับพัฒนาศักยภาพนักเรียนดนตรี และศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนดนตรีในการสีซอสามสายคลอร้อง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเครื่องสายไทยและสาขาคีตศิลป์ไทย จำนวน 6 ท่าน เพื่อวิเคราะห์หลักการสีซอสามสายคลอร้อง นำสร้างแบบพัฒนาทักษะการสีซอสามสายคลอร้อง โดยทดลองใช้กับ
กลุ่มอาสาสมัครจำนวน 20 คน จากวิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่ง

     ผลการวิจัยพบว่า ซอสามสายมีความสำคัญต่อการสีคลอร้องช่วยให้ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตรงเสียง ผู้บรรเลง ต้องมีทักษะการใช้กลวิธีการบรรเลงขั้นสูง มีความเข้าใจเรื่องทางร้อง เพื่อเลียนเสียงร้องได้อย่างกลมกลืน การสร้างชุดฝึกทักษะการสีซอสามสายคลอร้อง แบ่งออกเป็น 4 ชุด ประกอบด้วย (1) การฝึกพรมนิ้ว (2) การฝึกนิ้วนาคสะดุ้ง (3) การฝึกสีทำนองเอื้อน และ (4) การสีคลอร้องเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น ผลการประเมินการพัฒนาศักยภาพนักเรียน 
พบว่า ผู้เรียนมีศักยภาพในการสีซอสามสายคลอร้องเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนเรียนผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 11.7 หรือคิดเป็นร้อยละ 58.5 และหลังเรียนมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 18.3 หรือคิดเป็นร้อยละ 91.5

References

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2559). เสียงเสนาะซอสามสาย. กรุงเทพฯ : บริษัท อัพบีทครีเอชั่นส์ จำกัด.

ยิ่งศักดิ์ ชุ่มเย็น. (2561). การพัฒนาทักษะการตีฆ้องวงใหญ่ ของนักศึกษาภาควิชานาฏดุริยาคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 19(2): 60-70.

เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. (2538). ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้เป็นลูกศิษย์ซอสามสาย ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน. ใน ลมไม่รู้โรย โชยชายไหว้ครู คู่ขวัญศิลปิน ยังไม่สิ้นเสียงกลอง ฉบับ เพราะพร้อมซอสามสายร่ายลำนำ. หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2538 ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.

สุขสันต์ พ่วงกลัด. (2538). ภูมิปัญญาไทยในการถ่ายทอด กับ ความอยู่รอดของซอสามสาย. ใน ลมไม่รู้โรย โชยชายไหว้ครู คู่ขวัญศิลปิน ยังไม่สิ้นเสียงกลอง ฉบับ เพราะพร้อมซอสามสายร่ายลำนำ. หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2538 ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538.

สุรีรัตน์ ประทุมแก้ว. (2554). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัติดนตรี “ขิม” สำหรับวงดนตรีไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารสารสนเทศ, 12(1): 97-102.

อรพรรณ บางยี่ขัน. (2538). หลักและวิธีการบรรเลงซอสามสาย. ใน ลมไม่รู้โรย โชยชายไหว้ครู คู่ขวัญศิลปิน ยังไม่สิ้นเสียงกลอง ฉบับ เพราะพร้อมซอสามสายร่ายลำนำ. หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2538 ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022