ศึกษาการอิมโพรไวส์ของวินตัน มาร์ซาลิส แบรนฟอร์ด มาร์ซาลิส และเคนนี เกิร์กแลนด์ ในบทเพลงแบลคโคดส์

ผู้แต่ง

  • พีรพัฒน์ บัวนิลเจริญ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เด่น อยู่ประเสริฐ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

อิมโพรไวส์, แบลคโคดส์, วินตัน มาร์ซาลิส

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอิมโพรไวส์ของวินตัน มาร์ซาลิส แบรนฟอร์ด มาร์ซาลิส และเคนนี เกิร์กแลนด์ ในบทเพลงแบลคโคดส์ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์โดยมีประเด็นสำคัญที่ประกอบไปด้วย 1) ความสัมพันธ์ของคอร์ดและบันไดเสียง 2) การพัฒนาโมทีฟ 3) ลักษณะจังหวะ 4) เสียงขั้นคู่สี่ และ 5) ทรัยแอดเมเจอร์วางซ้อน จากนั้นจึงนำเสนอโดยอธิบายตามหลักพื้นฐานทฤษฎีดนตรีแจ๊ส

     จากผลการวิจัยพบว่า วินตัน มาร์ซาลิส สร้างทำนองการอิมโพรไวส์ที่เรียบง่ายและมีความโดดเด่นในเรื่องการโน้ตเทนชัน โมดที่นำมาใช้มากที่สุดคือโมดโดเรียน เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโมทีฟและมีความหนาแน่นลักษณะจังหวะปานกลางเป็นส่วนใหญ่ การสร้างทำนองเสียงขั้นคู่สี่จากโน้ตเทนชันของคอร์ดและการใช้ทรัยแอดเมเจอร์วางซ้อนประดับทำนองปรากฏน้อยแต่น่าสนใจ แบรนฟอร์ด มาร์ซาลิส สร้างทำนองการอิมโพรไวส์ที่ซับซ้อนด้วยการผสมโมดและการเล่นนอกกรอบด้วยบันไดเสียงเพนตาโทนิก การพัฒนาโมทีฟมักใช้การทำซ้ำด้วยการแปรโมทีฟที่เป็นวลีย่อยหลายครั้งในช่วงสั้นอย่างสมบูรณ์แบบ รวมทั้งมีจุดเด่นในเรื่องทำนองที่มีลักษณะจังหวะผิดปกติที่น่าสนใจอย่างมาก เคนนี เกิร์กแลนด์ สร้างทำนองอิมโพรไวส์ในรูปแบบที่หลากหลายและมีแนวทางในการจัดการทำนองที่สมบูรณ์แบบ ใช้ขั้นคู่เสียงจากโมด จำนวนมากให้ความสำคัญกับการพัฒนาโมทีฟ ลักษณะจังหวะ และเสียงขั้นคู่สี่เป็นช่วงยาวหลายห้องอย่างชัดเจน นำทรัยแอดวางซ้อนเมเจอร์มาใช้นำเสนอแนวคิดการเล่นนอกกรอบในรูปแบบน่าสนใจหลายครั้ง

References

เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร. (2559). เอกสารประกอบการสอนดนตรีแจ๊สและการวิเคราะห์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

จีรศักดิ์ ปานพุ่ม. (2555). การบรรเลงคีตปฎิภาณโดยการวางทรัยแอดซ้อน: เมเจอร์ทรัยแอด. วารสารดนตรีรังสิต, 7(1), 48-61.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

เด่น อยู่ประเสริฐ. (2559). Generatrix บทประพันธ์เพลงสำหรับวงดนตรีแจ๊ส และการแสดงเปียโนแจ๊ส. วารสารดนตรีรังสิต, 6(2), 5-21.

ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2562). ทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2561). ทฤษฎีดนตรีตะวันตก Western music theory. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bruin, L. D. (2015). Theory and Practice in Idea Generation and Creativity in Jazz Improvisation. Australian Journal of Music Education, 8(2), 91-106.

Crook, H. (1991). How to Improvise An Approach to Practicing Improvisation. CA: Advance Music.

Dicaire, D. (2006). Jazz Musicians, 1945 to The Present. NC: Mcfarland & Company.

Levine, M. (1995). The Jazz Theory Book. Petaluma, CA: Sher Music.

Ligon, B. (2001). Jazz Theory Resources: Tonal, Harmonic, Melodic, &Rhythmic Organization of Jazz Volume Two. WI: Hal Leonard.

Marsalis, W. (1985). Black Codes. On Black Codes (From The Underground) [CD]. Newyork: Columbia records.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022