ดูออลโพซาวเนอ: ทรอมโบนบรรเลงเดี่ยวสองบุคลิกผลงานของไอเดน ฮาร์ทเทอรี

ผู้แต่ง

  • นรเศรษฐ อุดาการ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

โพซาวเนอ, สองบุคลิก, ไอเดน ฮาร์ทเทอรี

บทคัดย่อ

     ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและแนวคิดของผู้ประพันธ์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงเพื่อนำไปพัฒนาเป็นแนวทางการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเพื่อเตรียมตัวก่อนการแสดงและนำไปปรับใช้ในการแสดงบทเพลงดูออลโพซาวเนอ ในการแสดงแคนนาเดี่ยนคอนเสิร์ต 2020 ที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้องแสดงดนตรี CRK Recital Hall วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้แสดงได้ทำการศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดของบทเพลง แนวคิดของผู้ประพันธ์และพัฒนาแนวทางการฝึกปฏิบัติและเตรียมตัวก่อนการแสดงบทเพลง ซึ่งสามารถแบ่งการฝึกการปฏิบัติเครื่องทรอมโบนออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก การบรรเลงโน้ตส่วนของดอกเตอร์จีคอล ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เทคนิคและ ส่วนที่ 2 การบรรเลงโน้ตส่วนของมิสเตอร์ไฮด์อีก 4 เทคนิค โดยการแสดงบทเพลงนี้ใช้เวลาในการแสดงทั้งหมดประมาณ 18 นาที

References

Baines, A. (1993). Brass Instruments: Their History and Development. 4th ed. North Chelmsford, MA: Courier Corparation.

Berio, Luciano. (1966). Performance notes for Sequenza V for trombone solo. Universal Edition.

Brink, P. (2019). The Trombonist’s Toolkit. Mahidol University, Cherry Classics Music for Brass.

Hartery, A. (2012). Dual Posaune: for a solo trombonist with a dual persona. Retrieved December 2, 2019, from Larb,QC: https://soundcloud.com/aiden-hartery/dual-posaune-for-a-solo.

Kleinhammer, E. (1947). Mastering the Trombone. Madison, WI: EMKO Publication, 2000.

Schlossberg, Max. Daily Drills and Technical Studies for Trombone. New York, NY: M. Baron Company Inc.

Stevenson, R. L. (2008) Dr.Jekyll and Mr.Hyde. Retrieved January 20, 2020, from https://www.sparknotes.com/lit/jekyll/summary/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022