อินทกะอสุรบาล: นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์จากคติความเชื่อเรื่องยักษ์ในพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • เจษฎา เนตรพลับ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

อินทกะอสุรบาล, นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์, ยักษ์ในพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง อินทกะอสุรบาล: นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์จากคติความเชื่อเรื่องยักษ์ในพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ความเป็นมาของยักษ์ คติความเชื่อเรื่องยักษ์ ทวารบาล และบทบาทของยักษ์ในพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานนาฏศิลป์ไทยโดยใช้วิธีวิจัยสร้างสรรค์ (Practice as Research) ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ภาพถ่าย วีดีทัศน์ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสร้างสรรค์ และการวิพากษ์ผลงาน

     ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของผลงานสร้างสรรค์ คือ อินทกะยักษ์อารักขเทวดาสำรวจโลก ประพันธ์บทโดยใช้กาพย์ฉบัง 16 และกลอน 8 ใช้วงดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์คุกพาทย์ พากย์บรรยาย ร้องเพลงพญาลำพอง ร้องเพลงกระบองกัน และเพลงเชิด โครงสร้าง การแสดงประกอบด้วย ส่วนนำเรื่อง อินทกะยักษ์ออกจากวิมาน ส่วนดำเนินเรื่องที่ 1 อินทกะยักษ์มุ่งสู่โลกมนุษย์ ส่วนดำเนินเรื่องที่ 2 อินทกะยักษ์สำรวจโลกมนุษย์ ส่วนดำเนินเรื่องที่ 3
อินทกะยักษ์กลับที่ชุมนุมเทวดา และส่วนจบเรื่อง อินทกะยักษ์กลับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ออกแบบท่ารำและลีลานาฏศิลป์โดยใช้
1. ท่าเต้นโขน 2. รำหน้าพาทย์ 3. รำใช้บท 4. การแปรแถว และ 5. การตั้งซุ้ม ใช้ผู้แสดงชายจำนวน 9 คน แต่งหน้าเป็นยักษ์ แต่งกายยืนเครื่องยักษ์ครึ่งท่อนที่ได้แนวคิดมาจากยักษ์ทวารบาล และถืออาวุธหอกสีทองคำ

 

References

กิตติยวดี ชาญประโคน. (2560). ท้าวเวสสุวัณในสังคมไทย. ใน วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 36(2), 27-46.

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา. (2540). วรรณคดีการแสดง. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. (2560). ยักษ์: ศิลปกรรมแห่งจินตนาการ. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1. (77-89). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ บุรีรัมย์.

เชาว์ เภรีจิต. (2556). สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบแลพัฒนาการจากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2556). การพากย์และเจรจาที่ใช้ในการแสดงโขน. ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1), 1-14.

ปัทมา สาคร. (2553). ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน และ ประยงค์ จันทร์แดง. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของเทวดาที่ปรากฎในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). จตุมหาราชสูตร. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, สืบค้นจาก http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd20.htm#!

มูลนิธิศิษย์วัดวีระโชติธรรมาราม. (2557). ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก http://watveerachotedhammaram.blogspot.com/2014/06/blog-post.html

ระพี เปรมสอน. (2555). จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิลปากร, กรม. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

สมรัตน์ ทองแท้. (2538). ระบำในการแสดงโขนของกรมศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022 — Updated on 26-12-2022

Versions