การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องเกาะสีชัง

ผู้แต่ง

  • สันติ อุดมศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, ตับเรื่อง, เกาะสีชัง

บทคัดย่อ

     การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องเกาะสีชัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และมูลบทที่เกี่ยวข้องกับเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องเกาะสีชัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บและรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ และการเก็บข้อมูลภาคสนาม

     ผลการวิจัยพบว่า เกาะสีชังมีความน่าสนใจด้านประวัติความเป็นมาจากการเป็นสถานที่จอดพักเรือสินค้าเพื่อหลบลมพายุ ต่อมาใช้เป็นสถานที่ประทับตากอากาศของพระมหากษัตริย์และชนชั้นสูงและเป็นเกาะเดียวในประเทศไทย ที่มีพระราชวังตั้งอยู่ ปัจจุบันเกาะสีชังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภาคตะวันออก พัฒนาการดังกล่าวจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้วิจัยสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะของเพลงตับประเภทตับเรื่อง เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาและความน่าสนใจของเกาะสีชัง ผ่านบทเพลงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในลักษณะกลอนสุภาพ ตามหลักการประพันธ์เพลงในลักษณะบันดาลรังสฤษฏ์ ของรองศาสตราจารย์พิชิต ชัยเสรี และแนวคิดการประพันธ์เพลงของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน โดยนำคำขวัญของเกาะสีชังมาสร้างสรรค์บทร้องเพลงคำขวัญเกาะสีชัง และนำเรื่องราวเกี่ยวกับเกาะสีชังมาสร้างสรรค์บทร้องและทำนองเพลง ได้แก่ เพลงปฐมลิขิต บอกเล่าถึงที่มาของชื่อเกาะสีชัง เพลงศักดิ์สิทธิ์สีชัง บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะสีชังนับถือ เพลงสรณังราชฐาน บอกเล่าประวัติและความสำคัญของพระราชวังจุฑาธุชราชฐาน เพลงสุขสนานชาวเกาะ และเพลงแสนเสนาะสีชล เพื่อบอกเล่าความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเกาะสีชังสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทั้งนี้ เพลงที่สร้างสรรค์ทั้งหมดใช้กลุ่มเสียงทางเพียงออล่าง ซลท x รม x มากที่สุด อีกทั้งผู้วิจัยใช้สำเนียงจีนในเพลงศักดิ์สิทธิ์สีชัง และใช้สำเนียงลาว สำเนียงจีน และสำเนียงฝรั่ง ในเพลงสุขสนานชาวเกาะ เพื่อสะท้อนว่าเกาะสีชังเป็นที่พักอาศัยและเป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้สร้างสรรค์ทำนองเพลงแสนเสนาะสีชลตามแนวรำวงประยุกต์แบบชาวบ้าน เพื่อสื่อถึงความสนุกสนานเชิญชวนไปท่องเที่ยวที่เกาะสีชัง

 

References

เกาะสีชัง, เทศบาล. (2563). ระบบสถิติทางการลงทะเบียน. กรมการปกครอง (13 เมษายน 2563).

บุญธรรม ตราโมท. (2540). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.). กรุงเทพมหานคร: ศิลปสนองการพิมพ์.

ป. มหาขันธ์. (2540). พระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะสีชัง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน. (2563). โครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น รุ่น 14. ม.ป.ท., ม.ป.พ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2521). อนุสรณ์เนื่องในงานพระกฐินพระราชทาน ณ วัดจุฑาทิศธรรมสภารามมหาวรวิหาร กิ่งอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี วันที่ 4 พฤศจิกายน 2521. ม.ป.ท., ม.ป.พ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2434). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 แผ่นที่ 16 วันที่ 19 กรกฎาคม รศ 110 เรื่องประกาศการเสด็จฯ พระราชดำเนินเกาะสีชัง หน้า 339.

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น. (2530). พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง. ศูนย์วัฒนธรมมจังหวัดชลบุรี โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี. ม.ป.ท., ม.ป.พ.

รายการสัมภาษณ์

พรรณี สุขเกษม. สัมภาษณ์. 10 กรกฎาคม 2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022