การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • โอภาส สุวรรณโพธิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นัฏฐิกา สุนทรธนผล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ, ขลุ่ยเพียงออ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และประเมินทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ประชากรที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 26 คน

     ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า การเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ เรื่อง การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ทั้ง 2 ด้าน คือด้านคุณภาพของเนื้อหา ผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และด้านคุณภาพของชุดฝึกทักษะผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพ. วิชาการ(พว).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กานต์ธิดา กำแพงแก้ว. (2554). การใช้วิธีสอนแบบโคดายและกิจกรรมรูปภาพช่วยจำเพื่อส่งเสริมทักษะโสตประสาทของนักเรียนระดับชั้นต้น. (วิทยานิพนธ์ครุุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาดนตรีศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน, องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศาชล บังคม. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้านโสตทักษะตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโน ชั้นประถมต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2555). การสอนดนตรีของซูซูกิ (ระบบออนไลน์). ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://suppavit014.wordpress.com.

Thorndike, Edward Lee. (1975). Connectionism Theory. University of London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022