การสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์การขับร้อง, ชุดบทเพลงห้วงแห่งรัก, มัทนะพาธาบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การขับร้องชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” จากบทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา ผลศึกษาพบว่า ชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” สร้างสรรค์ทำนองและนำเนื้อร้องมาจากบทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธาในองก์ที่ 3 ซึ่งเป็นองก์ที่มีความงดงามของภาษา เนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นความรักของท้าวชัยเสนและนางมัทนา ชุดบทเพลง “ห้วงแห่งรัก” ประกอบด้วย 6 เพลง ได้แก่ เพลงห้วงภวังค์ เพลงภวังค์รัก เพลงสัญญาราตรี เพลงอรุณแรกรตี เพลงความจริงของความรัก และเพลงปฏิญญา โดยนำองค์ประกอบบทเพลงอรุณแรกรตีมาพัฒนาเป็นทำนองเพลงอื่น ด้วยวิธีการเปลี่ยนบันไดเสียง การเลือกใช้โมด การใช้โน้ตนอกคอร์ด การยืดหรือหดค่าตัวโน้ต
การสร้างสรรค์การขับร้องเป็นการตีความและแสดงความรู้สึกของตัวละคร โดยออกแบบลักษณะเสียงร้องในการถ่ายทอดความรู้สึกของบทเพลง ในการออกแบบการขับร้องผู้วิจัยได้ออกแบบการออกเสียงคำร้องให้ตรงตามคำในภาษาไทย การผันเสียงตามวรรณยุกต์ รวมถึงการสร้างเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลง เช่น การร้องปนลม การเน้น การเอื้อน การไถเสียง การโหนเสียง การกระเส่าเสียง การร้องโน้ตสะบัด การทำลูกคอ การหยอดเสียง และการผ่อนเสียง
References
กรมศิลปากร. (2550). บัณณ์ดุรีย์ วรรณคดีกับเพลง (เล่ม 2) ภาควรรณคดีไทยในเพลงไทยสากล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ดวงใจ ทิวทอง. 2560. อรรถบทการขับร้อง: กระบวนแบบและนวัตกรรมการขับร้อง. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2554). บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). กวีวัจน์วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและคำอธิบาย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ลดาวัลย์ อาคาสุวรรณ. (2564). การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธาเพื่อประพันธ์บทเพลงร้อง ชุดห้วงแห่งรัก. วารสารดนตรีและการแสดง, 3/(2), 124.
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2556). จาก “วรรณคดี” สู่ “คีตศิลป์”. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.