การบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรี กรณีศึกษาเพลงแป๊ะ สามชั้น

ผู้แต่ง

  • กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การบรรเลง, ระนาดทุ้ม, วงมโหรี

บทคัดย่อ

วงมโหรีเป็นการประสมวงดนตรีเก่าแก่วงหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ มีวิวัฒนาการคู่กับสังคมดนตรีไทยมาทุกยุคสมัยในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มขึ้นมา จึงมีการนำไปผสมไว้ในในวงมโหรีเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ ซึ่งลดขนาดของเครื่องดนตรีให้เล็กลง วงมโหรีที่มีหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อมจึงส่งผลให้การบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรีแตกต่างจากการบรรเลงในวงปี่พาทย์ ลักษณะเด่นของการบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรี ไม่โลดโผน บรรเลงเกาะทำนองฆ้องวงใหญ่หรือที่เรียกว่า “จาว” การบรรเลงมโหรีในปัจจุบันมักอยู่ในเวทีการประกวดทำให้การบรรเลงต้องนำหลักเกณฑ์ของการประกวดมาเป็นแบบแผนในการปรับวง การศึกษาเพลงแป๊ะ สามชั้น ทางระนาดทุ้ม ทางครูนัฐพงศ์ โสวัตร พบกลวิธี ได้แก่ การตีล่วงหน้า การตีล้าหลัง (การตีย้อย) การสะเดาะ การสะบัด การตีแบ่งมือ และการตีขโยก ลักษณะการบรรเลงระนาดทุ้มในวงมโหรียังคงใช้ลักษณะการบรรเลงระนาดทุ้มตามแบบแผนทั่วไป ผู้บรรเลงเลือกใช้กลอนระนาดทุ้มที่มีความเรียบร้อยเป็นหลัก

References

กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเพลงมโหรี. เอกสารอัดสำเนา.

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). เครื่องดนตรีไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เทพยพงศ เทวกุล ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.พ).

ชัชวาล แสงทอง. (2557). วิเคราะห์เพลงเดี่ยวทุ้มเพลงกราวใน สามชั้น ทางครูพุ่ม บาปุยะวาทย์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

พิชิต ชัยเสรี. (2536). โน้ตฆ้องเพลงไทย ชุด สืบสานดุริยางค์ศิลป์. (ม.ป.พ).

พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2527). โสมส่องแสง : ชีวิตดนตรีไทยของมนตรี ตราโมท. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.

สงบ ทองเทศ. (17 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2542). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

เอกสิทธิ์ การคุณี. (10 มีนาคม 2562). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023