กรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน

ผู้แต่ง

  • วิศรุต แซ่จุ่ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กรรมวิธีการสร้าง, กระจับปี่, ศุภาพล ไทรวิมาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ และการประเมินคุณภาพกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน ผลการศึกษาพบว่า ช่างศุภาพล ไทรวิมาน ศึกษางานช่างสร้างเครื่องดนตรีกับบิดา ซึ่งเคยเป็นช่างสร้างเครื่องดนตรีคนสำคัญของร้านดุริยบรรณ และเรียนรู้ซึมซับวิชาความรู้ด้านงานช่างจากการเป็นช่างในโรงงานของบิดา จนมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นในการสร้างจะเข้ ต่อมาภายหลังได้ทดลองสร้างกระจับปี่ โดยใช้กระจับปี่ของช่างจรูญ คชแสง เป็นต้นแบบ แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขตามแนวทางของตนจนเกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะโดยการสร้างหลักแบบไม่ใช้หย่องและไม่เจาะรูหน้ากะโหลก ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างคันทวน การสร้างกะโหลก การสร้างโขน การสร้างลูกบิด การสร้างหลัก การสร้างนมและซุ้มหย่อง การเคลือบผิวไม้และย้อมสี และการประกอบและเทียบเสียง ทั้งนี้คุณภาพของชิ้นงานมีความละเอียด เรียบร้อยสวยงาม ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพเสียงที่ ดังกังวาน มีเสียงที่ทุ้มลึก และมีลักษณะเสียงที่สั่นสะเทือน ตรงตามคุณลักษณะเสียงที่ไพเราะของกระจับปี่

References

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (1 ตุลาคม 2563). สัมภาษณ์.

ปถมา เอี่ยมสอาด. (2539). กระจับปี่ : การศึกษาด้านวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ทางดนตรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี. (2 ตุลาคม 2563). สัมภาษณ์.

สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ. (3 ตุลาคม 2563). สัมภาษณ์.

ศุภาพล ไทรวิมาน. (15 พฤศจิกายน 2562). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023