การประเมินหลักสูตร วิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้ CIPP Model

ผู้แต่ง

  • ยงยุทธ เอี่ยมสะอาด โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, วิชาเอกดุริยางคศิลป์, CIPP Model

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้เรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน และแบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.) หลักสูตรวิชาเอกดุริยางคศิลป์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบทมีความเหมาะสม ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.40 ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.37 ด้านกระบวนการมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.40 ด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 2.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาเอกดุริยางคศิลป์ จบการศึกษาปีการศึกษา 2562 เป็น
คะแนนเฉลี่ย 6 ภาคเรียน (GPAX) ดังต่อไปนี้ นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 3.00–4.00 จำนวน 14 คน นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 2.00–2.99 จำนวน 6 คน นักเรียนที่ได้คะแนน อยู่ในเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย 1.00–1.99 จำนวน 2 คน 3.) การศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา นักเรียนวิชาเอกดุริยางคศิลป์ที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสอดคล้องกับวิชาเอกที่เรียน วิชาเอกดุริยางคศิลป์ จำนวนนักเรียน 22 คน คณะ/สาขาที่สอดคล้องกับวิชาเอก จำนวน 18 คน คิดเป็น 81.24 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับสาขาอื่น ๆ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 86.36 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยของเอกชน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.17 สามารถสอบสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเปิด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.55

References

เยาวพา เตชะคุปต์. (2546). หลักสูตรปฐมวัยที่เน้นการพัฒนาพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้. (กรุงเทพฯ,เจ้าพระยาระบบการพิมพ์).

ยรรยง ศัตรูคร้าม. (2544). การประเมินการใช้หลักสูตรประกาศณียบัตรชั้นสูง วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุจิตรา บำรุงกาญจน์. (2544). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ โรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครูภาคเหนือ, (เชียงใหม่, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.).

สิทธิพร สวยกลาง. (2553). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ (ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023