สื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม

ผู้แต่ง

  • ขวัญฟ้า ภู่แพ่งสุทธ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

คำสำคัญ:

วีดีทัศน์การแสดงละครไทย, โดยใช้ภาษาอังกฤษ, เรื่องพระอภัยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่อง พระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการศึกษาโดยใช้สื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับการสอนและการแสดงนาฏศิลป์ (301-20012) ระยะเวลาที่ใช้ ระหว่างเดือนธันวาคม–เดือนกุมภาพันธ์ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษา โดยใช้สื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของสื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม มีค่าเท่ากับ 84.20/98.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง คือ 80/80
2) คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของ สื่อวีดีทัศน์การแสดงละครไทย โดยใช้ภาษาอังกฤษ เรื่องพระอภัยมณี ตอน หึงหน้าป้อม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านครูผู้สอน ด้านเนื้อหาด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( gif.latex?\fn_phv&space;x\bar{}= 4.59)

References

กระทรวงวัฒนธรรม, (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

นิชิโมโต, โยอิชิ (2538). การผลิตสื่อโทรทัศน์และวิดีทัศน์. แปลโดยวิภา อุดมฉันท์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิตร ทองชั้น. (2524). หลักการวัดผล. กรุงเทพฯ : พีระพัธนา.

ไพศาล หวังพานิช. (2526). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

อัจฉรา สัปปพันธ์. (2538, เมษายน-มิถุนายน). วีดิทัศน์กับกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษสารพัฒนาหลักสูตร.

อนันต์ ศรีโสภา. (2554). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

Koksal, D. (2004). Technology in Language Teaching and Learning. Retrieved November15, 2003, from www. Tojet.net/articles/339 htm-101k.

Lemlech, J.K. (1998). Curriculum and Instructional Methods for the Elementary and Middle School. New Jersey: Prentice-Hall.

Malay, Alan; & Duff. Alan (1994). Drama Techniques in Language learning 2 edGreal Britain:Cambridge.

Mcgovern, J. (1983). “Type of Video Software: A User’s Experience,” in Video Applications in English Language Teaching. J Mcgovern. (ED.). pp.57-67. Oxford: Pergamon.

Stempleski, S. ; & Tomalin, B. (1990). Video in Action: Recipes for Using Video in Language Teaching. London: Prentice Hall International.

Ur, P. (1984). Teaching Listening Comprehension. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023