กรรมวิธีการสร้างซึงหลวงของครูจีรศักดิ์ ธนูมาศ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ จิตอารีวงค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ซึงหลวง, จีรศักดิ์ ธนูมาศ, กรรมวิธีการสร้าง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับซึงหลวง ศึกษาประวัติครูจีรศักดิ์ ธนูมาศ ศึกษากรรมวิธีการสร้างซึงหลวงของครูจีรศักดิ์ ธนูมาศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูจีรศักดิ์ ธนูมาศเป็นช่างในจังหวัดแพร่มีประสบการณ์สร้างซึงได้รับการสืบทอดจากบิดาและครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ลักษณะซึงหลวงคือซึงขนาดใหญ่มีสัดส่วนหน้าตาดตั้งแต่หน้า 12-14 นิ้ว มีเสียงนุ่มดังกังวาน นิยมใช้สายโลหะและสายเอ็น ทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลักแบบห่าง ๆ และใช้วิธีการดีดดักเสียงเป็นบางช่วง สามารถตั้งระบบคู่เสียงได้ทั้งลูก 3 และลูก 4 มีขั้นตอนการสร้างทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ การขึ้นโครงซึง การเจาะกล่องเสียง เจาะรางไหม และเจาะหัวซึง การทำแผ่นหน้าตาดซึง การฉลุลายหน้าตาด การติดแป้นวางนิ้ว (Fingerboard) การขัดแต่งทาสี และการแต่งเสียง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซึงหลวงพบทั้งหมด 6 ปัจจัย คือ การคัดเลือกไม้ ความหนาของกล่องเสียงและแผ่นหน้าตาด การติดหย่องหน้าหย่องหลัง การบากร่องรับสาย การติดลูกนับ และการฉลุลายหน้าตาดซึง

 

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2549). วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทย ภาคเหนือ. รายงานทุนวิจัย กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ, (19 มกราคม 2563). สัมภาษณ์.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ, (5 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ, (6 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ, (16 พฤศจิกายน 2563). สัมภาษณ์.

จีรศักดิ์ ธนูมาศ, (18 พฤศจิกายน 2563). สัมภาษณ์.

บูรณพันธุ์ ใจหล้า. (2561). ภูมิปัญญาเครื่องดนตรีล้านนาเพื่อสืบทอดการสร้างเครื่องดนตรีพื้นบ้านและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม. รายงานทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2553). การสร้างและคุณภาพเสียงเครื่องดนตรีไทย ภาคเหนือ ซึงกลางและกลองปู่เจ่. รายงานทุนวิจัย กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรเมศวร์ สรรพศรี. (2555). เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่: ภูมิปัญญาการสืบทอดสะล้อและซึง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมและการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. (2548). เพลง ดนตรี ปริศนา ผ้าทอ: ภูมิปัญญาทางด้านการละเล่นและการช่าง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

รัชภร บุญรักษาเดชธนา. (2560). การศึกษาชีวประวัติและวิธีการสอนซึงของครูพรหเมศวร์ สรรพศรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ศรชัย เต็งรัตน์ล้อม. (2547). ซึง 6 สาย ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สุรศักดิ์ ณ เชียงใหม่. (28 ธันวาคม 2563). สัมภาษณ์.

เอกพิชัย สอนศรี. (2546). ซึงในวัฒนธรรมดนตรี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023