การศึกษา กระบวนการกำกับการแสดง: ละครชาตรีร่วมสมัยเรื่องพายุพิโรธ
คำสำคัญ:
การแสดงข้ามวัฒนธรรม, ละครชาตรีบทคัดย่อ
ละครชาตรีร่วมสมัยเรื่องพายุพิโรธเป็นการสร้างสรรค์การแสดงผ่านแนวคิดการแสดงข้ามวัฒนธรรมที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนระหว่างอัตลักษณ์ทางการแสดงที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมกันโดยนำมาสร้างสรรค์บนพื้นที่และสภาพแวดล้อมเดียวกันเพื่อสื่อสารความคิดหรือประเด็นบางอย่างร่วมกันผ่านการแสดง ผู้วิจัยศึกษากระบวนการกำกับการแสดงและสร้างสรรค์จากบทละครเรื่องพายุพิโรธ แปลจาก The Tempest ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) และการแสดงละครชาตรี เพื่อค้นหาแก่นความคิดหลัก (Theme) และวิธีการนำเสนอ (Style) ที่สามารถสื่อ“สารหลัก” (Message) จากบทละครควบคู่กับอัตลักษณ์ละครชาตรีผ่านการสร้างสรรค์การแสดง
ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการกำกับการแสดงด้วยแนวคิดการแสดงข้ามวัฒนธรรม จะต้องตระหนักถึงการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม ทั้งทางความคิดและทักษะทางการแสดงบนพื้นฐานความเคารพอย่างจริงใจต่ออัตลักษณ์และรากเหง้าวัฒนธรรม (Culture Source) ในกระบวนการกำกับการแสดง การกำหนดแก่นความคิดหลักเป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นหลักสำคัญที่ผสานอัตลักษณ์การแสดงจากสองวัฒนธรรมเอาไว้ทั้งในแง่ความคิดและรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน ที่จะส่งผลต่อการสร้างสรรค์การแสดงในทุกองค์ประกอบ
นอกจากนี้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผู้กำกับการแสดงจะต้องเปิดโอกาสและผลักดันให้คณะผู้สร้างสรรค์ได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการผสมผสานอัตลักษณ์ทางการแสดงร่วมกัน แต่ทั้งนี้ผู้กำกับการแสดงจะต้องพยายามให้การปะทะสังสรรค์เหล่านี้สนับสนุนแก่นความคิดหลักเป็นสำคัญและคำนึงถึงการรักษาสมดุลระหว่างอัตลักษณ์การแสดง
References
กัญญา ทิพโยสถ. (15 เมษายน 2564). ศิลปินละครชาตรีชุมชนนางนางเลิ้ง. สัมภาษณ์.
กุลวดี มกราภิรมย์. (2558). การละครตะวันตก : สมัยคลาสสิก-สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันทรา เนินนอก. (2561). การขับร้องละครชาตรีคณะกัญญาลูกแม่แพน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชคสเปียร์ วิลเลียม, Shakespeare, W., นพมาส แววหงส์, & จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2555). พายุพิโรธ = The Tempest (พิมพ์ครั้งที่ 1). แพรวสำนักพิมพ์.
ดนยา ทรัพย์ยิ่ง, Danaya Supying, & กองกาญจน์ ตะเวทีกุล ม.ร.ว. (2548). บทละครโต้กลับ : การวิพากษ์วรรณกรรมเอกของยุโรป.
นพมาส แววหงส์. (2556). ปริทัศน์ศิลปการละคร (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ.
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2551). พิเชษฐ กลั่นชื่น : ทางไปสู่การอภิวัฒน์นาฏศิลป์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขมนาด.
พันพัสสา ธูปเทียน. (2559). การกำกับละครเพลงเรื่อง “หลายชีวิต” เพื่อสร้างคู่มือการกำกับละครเพลงในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.
วรรณกรรมประกอบการเล่นละครชาตรี. (2523). โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทยกระทรวงศึกษาธิการ.
สุกัญญา สุจฉายา. (2556). วรรณกรรมมุขปาฐะ (พิมพ์ครั้งที่ 1). โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Clurman, H. (1974). On directing (First Collier Books edition.). Collier Books.
Jacqueline Lo, & Helen Gilbert. (2002). Toward a Topography of Cross-Cultural Theatre Praxis. TDR (1988-), 46(3), 31–53.
McIvor, C., & King, J. (2019). Interculturalism and Performance Now. [electronic resource] : New Directions? Springer International Publishing.