เพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย
คำสำคัญ:
ปี่พาทย์มอญ, จรรย์นาฏย์, รูปแบบโครงสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ และศึกษาเอกลักษณ์ของเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ตระกูลจรรย์นาฏย์นับทายาทได้ 3 รุ่น 1. ครูเพชร จรรย์นาฏย์ 2. ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ 3. ครูพิทักษ์ จรรย์นาฏย์ เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นภายในสำนักและสู่สังคมดนตรีไทยโดยกว้างโดยวิธีการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ วงปี่พาทย์มอญเกิดขึ้นโดยครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ เครื่องมอญชุดแรกที่สร้างคือ ฆ้องมอญจากร้านตุ๊กตาไทย ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ เป็นผู้ประพันธ์เพลงมอญมีทั้งหมด 7 เพลง ได้แก่ เพลงมอญ มอบเรือ เพลงสองกุมาร เพลงเขมรยวน เพลงพม่ารำขวาน เพลงม่านมงคล เพลงเร็วดาวกระจาย และ เพลงเร็วมะลิวัลย์
เอกลักษณ์ของเพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์ พบว่ามีรูปแบบโครงสร้างคล้ายเพลงเถา เพลงเขมรยวนพบการประพันธ์หน้าทับตะโพนมอญที่ไว้ใช้สำหรับเพลงโดยเฉพาะ พบบันไดเสียงทั้งหมด 4 บันไดเสียงคือ บันไดเสียงเพียงออบน กลาง ชวา และเพียงออล่าง
References
กฤษพร พงษ์แตง. (2560). การศึกษาดนตรีไทยบ้านจรรย์นาฏย์. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์, 15 มกราคม 2563. สัมภาษณ์.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์, (15 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์, (26 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.
พิทักษ์ จรรย์นาฏย์, (31 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.
สุวิชา พงษ์เกิดลาภ. (2561). ระเบียบวิธีการบรรเลงเพลงนางหงส์ของบ้านจรรย์นาฏย์. วิทยานิพนธ์ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดุริยางค์ไทย ภาควิชาวิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.