การสร้างสรรค์การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา

ผู้แต่ง

  • ราชมณ รัตนเวคิน คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รณชัย รัตนเศรษฐ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระชังปลาของคุณตา, บางปะกง, สร้างสรรค์การแสดง

บทคัดย่อ

    งานวิจัยการสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราชญ์
ชาวบ้านซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำบางปะกงทางด้านการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ประกอบอาชีพมายาวนานกว่า 70 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลข้อมูลมาสร้างสรรค์การแสดง ในรูปแบบการเล่าเรื่องชุมชนผ่านบทเพลง ซึ่งมีกรอบแนวคิดในการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้ กระบวนการสร้างสรรค์ ผลผลิตการสร้างสรรค์ และผลลัพธ์จากการสร้างสรรค์ ตามลำดับเพื่อนำมาสู่เป้าหมายของวัตถุประสงค์งานวิจัยชิ้นนี้ โดยมีการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การแสดงบางปะกงแหล่งชีวิต : กระชังปลาของคุณตา และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์การแสดง โดยผู้วิจัยใช้
การอธิบายในเชิงสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)

     จากการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ผู้แสดงเข้าใจในเรื่องราวของการแสดงและการถ่ายทอดบทเพลงได้อย่างลึกซึ้ง จึงทำให้สามารถสื่อสารออกมาให้
ผู้ที่รับชมเกิดความรู้สึก เข้าใจในเรื่องราวตามที่ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้ และทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงเพื่อชุมชน เพื่อการสร้างสรรค์งานแสดงชิ้นนี้จะส่งผลและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและคนในชุมชนได้ตามเป้าหมายที่ผู้วิจัยได้ตั้งใจไว้

 

 

References

นพมาส ศิริกายะ. (2525). เอกสารประกอบคำสอนวิชา ประวัติการละคร [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูริทัต ว่องพุฒิพงศ์. (2563, 17 ตุลาคม). ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง (Storytelling). https://pharmconnection.blogspot.com/2020/09/storytelling.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2023