การสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขำคม พรประสิทธิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, บทเพลงเทิดพระเกียรติ, พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์บทเพลงเทิดพระเกียรติชุด พระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการประพันธ์เพลงชุด
พระแม่อยู่หัวของแผ่นดินและเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านดุริยางค-ศิลป์ไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พระราชประวัติของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ จำแนก 6 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านการอนามัยและสังคมสงเคราะห์ ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านศิลปาชีพ ด้านการศึกษา และด้านศิลปวัฒนธรรม วิธีการประพันธ์ยึดหลักการประพันธ์เพลงไทยบรรเลงลักษณะบรรยายเรื่องราว แบ่งทำนองออกเป็น 4 ช่วง รวม 9 บทเพลง ได้แก่ เพลงแรกแย้ม เพลงพระราชประวัติ ท่อน 1 เสียงของแม่ ท่อน 2 แผ่ไทยผอง ท่อน 3 ชนซาบซึ้ง เพลงพระราชกรณียกิจ 6 เพลง ได้แก่ เพลงแดนดิน เพลงแพทย์หลวง เพลงอนุรักษ์ เพลงสืบศิลป์ เพลงดินสอ เพลงมรดก และเพลงสรรเสริญ ได้แก่ เพลงพระแม่อยู่หัวของแผ่นดิน มีวิธีการประพันธ์ทำนองเพลง 3 รูปแบบ ได้แก่ การนำทำนองต้นรากส่วนหนึ่งของบางเพลงมาเป็นทำนองสัญลักษณ์ในการประพันธ์ การอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 9 และการประพันธ์ขึ้นโดยอัตโนมัติจากจินตนาการตามพระราชกรณียกิจ บรรเลงด้วย
วงปี่พาทย์ไม้นวมและวงดนตรีประยุกต์ร่วมสมัย

References

กำจร หลุยยะพงศ์. (2544). สตรีศึกษา 2 ผู้หญิงกับประเด็นต่าง ๆ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

นัทธี เพชรบุรี และ ชาสินี สำราญอินทร์. (2561). ภาพลักษณ์พระราชาแห่งอุดมคติจากภาพพจน์ในบทเพลงเทิดพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. [วิจัยคณะศิลปะศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ประยูร พิศนาคะ. (2515). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. โรงพิมพ์เจริญกิจ.

ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2505). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. สำนักพิมพ์กรุงธน.

พรธาดา สุวัธนวนิช. (2550). ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ในนวนิยายไทยตั้งแต่ พ.ศ.2510-2546. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. โอเดียนสโตร์.

แสง จันทร์งาม. (2542). ศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ไทยวัฒนาพานิช.

สุคนธรัตน์ สร้อยทองดี. (2552). การนำเสนออุดมการณ์ความเป็นแม่ในวาทกรรมโฆษณาในนิตยสารสำหรับครอบครัว. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2552). ลีลาภาษาในบทเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. วารสารมนุษยศาสตร์, 16(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2023