การประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด

ผู้แต่ง

  • ปภัค แก้วบุญชู คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขำคม พรประสิทธิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประพันธ์เพลง, เพลงประกอบการแสดง, ครูอำนาจ นุ่นเอียด

บทคัดย่อ

     งานบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูอำนาจ นุ่นเอียด และเพื่อศึกษาวิธีการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ครูอำนาจ นุ่นเอียด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นชาวจังหวัดพัทลุงเริ่มฝึกหัดดนตรีด้วย
ตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นก็ฝึกเป่าปี่จนมีความรู้ความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีโนราและหนังตะลุงในทุก ๆ ชิ้น โดยเฉพาะปี่ ในการวิเคราะห์เพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด พบว่า การแสดงมีทั้งหมด 16 ชุดการแสดง ใช้เพลงจำนวน 73 เพลง และมี 14 เพลงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่
โดยแต่ละเพลงมีความไพเราะอยู่ในตัวด้วยกันทั้งสิ้น มีการเปลี่ยนบันไดเสียงและใช้เสียงหลุมเพื่อให้เกิดสำเนียงที่ไพเราะอ่อนหวาน และยังมีลักษณะที่
โดดเด่นอื่น ๆ อยู่อีก 5 ประการได้แก่ 1) การใช้เสียงเด่น หรือที่เรียกว่า Pillar Tone 2) การย้ำทำนอง 3) การใช้กระสวนจังหวะของทำนองแบบคงที่ 4) การใช้ทำนองโอดพัน และ 5) การใช้ทำนองฉายรูป ครูอำนาจประพันธ์โดยใช้วิธีการพลิกแพลงทำนองจากทำนองเพลงเดิมที่มีอยู่ การยุบโดยตรงและการยุบโดยวิธีการพลิกแพลงทำนองจากเพลงเดิมที่มีอยู่ ตามหลักการประพันธ์เพลงและยังต้องอาศัยจินตนาการในการสร้างสรรค์ทำนองที่มีลักษณะเฉพาะเพลงขึ้นมา

References

คฑาวุธ พรหมลิ. (2552). กลวิธีการบรรเลงปี่โนราของครูอำนาจ นุ่นเอียด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ชัยเสรี. (2556). การประพันธ์เพลงไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด ภูเขาทอง. (2532). การดนตรีไทยและทางเข้าสู่ดนตรีไทย. เรือนแก้วการพิมพ์.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2524). ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้. โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2023