การวิเคราะห์ทักษะการบรรเลงของบทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “อินทัช หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก
คำสำคัญ:
เอทูด, อินทัช, วงดุริยางค์เครื่องลมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์บทฝึกเอทูดสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม “IN TOUCH หมายเลข 1” ประพันธ์โดยมานิต บูชาชนก มีลักษณะเป็นบทเพลงที่สามารถนำไปใช้ในการบรรเลงเพื่อออกแสดง และฝึกฝนทักษะการบรรเลงได้ เหมาะสำหรับการพัฒนาทักษะการบรรเลงดนตรีในระดับสูง โดยบทประพันธ์เอทูดนี้ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะด้านคุณภาพเสียงการบรรเลงของวงดุริยางค์เครื่องลม โดยเป็นไปตามหลักการของ 4In เป็นหลักการสำคัญสำหรับองค์ประกอบที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพเสียงที่ดี ประกอบไปด้วย In Tone In Tune In Time และ In Touch เป็นต้น สำหรับบทฝึกเอทูด เป็นกาiรวบรวมเอาทักษะและเทคนิคการฝึกซ้อมของวงดุริยางค์เครื่องลมมาเรียบเรียงและประพันธ์แนวทำนองขึ้นโดยจัดอยู่ในองค์ประกอบ In Touch ตามหลักการแบบ 4In บทฝึกนี้มีรูปแบบจังหวะเดินแถว ซึ่งเป็นคุณลักษณะการบรรเลงที่มีบทบาทต่อการบรรเลงบทเพลงของวงดุริยางค์เครื่องลมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้บรรเลงสามารถฝึกฝนทักษะการบรรเลงบทเพลงในจังหวะเดินแถว เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำไปสู่การบรรเลงบทเพลงที่มีระดับสูงขึ้นต่อไปได้
References
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
Battisti, Frank L. (2002). The Winds of Change: The Evolution of the Contemporary American Wind .Band/Ensemble and its Conductor. FL: Meredith Music Publications International.
Corporon, Eugene. (2008). Chapter2. in. Neigid, Kenneth L. (Ed.). Rehearsing the Band. MD : Meredith Music Publications.
Drinkwater, Amanda. (2017). Rehearsing the Band. In Zarco, John. (Ed.). Volume 3. FL : Meredith Music Publication.
Gale, Bruce. (2010). Articulation. Retrieved February 1, 2021, http://www.theconcertband.com/index.php/band-training/articulation
Pelletier, J. Andrew. (2002). Embouchure Health : Consistency Maintenance. TBA Journal. 15(2021), http://apps.texasbandmasters.org/archives/pdfs/bmr/2002-09-pelletier1.pdf