เพลงแม่ฟ้าหลวง : มิติการสร้างสรรค์บทค่าวล้านนาสู่ทำนองเพลง
คำสำคัญ:
เพลงแม่ฟ้าหลวง, บทค่าว, เพลงพื้นบ้านล้านนาบทคัดย่อ
เพลงแม่ฟ้าหลวง หรือเพลงตวยฮัก เป็นการประพันธ์เพลงแรกของอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ ข้าราชการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ราวเมื่อ พ.ศ.2527 จากความประสงค์ของอาจารย์นคร พงษ์น้อย ผู้อำนวยการไร่แม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น เบื้องต้นเป็นการประพันธ์เพลงเพื่อการบรรเลงประกอบการแสดงชุดฟ้อนไหว้สาแม่ฟ้าหลวง จำนวน 2 ท่อน ท่อนละ 6 บรรทัด ต่อมาได้ปรับมาเป็นการบรรเลงประกอบขับร้องโดยอาจารย์นคร พงษน้อยได้นำ “บทค่าวเรื่องนางจม” ของพญาพรหมโวหารมาให้อาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศบรรจุทำนองร้อง และได้ปรับปรุงทำนองตัดเพิ่มเหมาะสำหรับบทค่าว โดยตัดให้เหลือเพียง 1 ท่อน 4 บรรทัด พบว่า ผู้ประพันธ์ได้ตัดท่อน 2 ออก จากนั้นได้เลือกท่อน 1 ตัดบรรทัดที่ 4-6 ออก แล้วแต่งทำนองท้ายบรรทัดจนจบเพลง เป็นเพลงแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้จัดลำดับการแบ่งมิติการสร้างสรรค์เพลงออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ ๆ ได้แก่ ช่วงที่ 1 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบเต็ม ช่วงที่ 2 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงแบบตัด หรือแม่ฟ้าหลวงฉบับบรรเลงรับร้อง ช่วงที่ 3 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงสู่การสร้างสรรค์บทร้องเพลงแม่ฟ้าหลวง ช่วงที่ 4 ทำนองเพลงแม่ฟ้าหลวงชั้นเดียว นอกจากนี้เพลงแม่ฟ้าหลวงยังได้ถูกนำไปประกอบการแสดงนาฏกรรมละครพื้นบ้านล้านนา และถูกนำไปผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วงสะล้อซอซึง วงปี่พาทย์ วงดนตรีล้านนาผสมดนตรีตะวันตก อาทิเช่น วงโฟล์คซองคำเมือง กระทั่งเพลงแม่ฟ้าหลวงได้นำไปสู่ความประทับใจสูงสุด ที่เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเลงรับร้องบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “สมเด็จย่าพิชิตยอดดอยอินทนนท์” เนื่องในวาระครบรอบที่สมเด็จพระศรีนรินทราบรมราชชนนี มีพระชนม์ครบรอบ 120 สร้างความปราบปลื้มปีติยินดีแก่ผสกนิกรชาวไทย และยังจะเป็นการท้าทายให้กับผู้ที่สนใจในดนตรี ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ต่อกระบวนการสร้างสรรค์ประพันธ์เพลง เชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติสืบไป
References
ธีราคีตารมณ์. (2561). โน้ตเพลงอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เสวนาวิชาการ วัดศรีสุพรรณ ถนนวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2553). คลาสสิกสังวาส. สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพศาล อินทวงศ์. (2546). รอบรู้เรื่องดนตรีไทย. สุวีริยาสสาระ.
อเนก นาวิกมูล. (2550). เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน รศ.ณรงค์ชัย ปิฎิกรัชต์ (เพลงพื้นบ้านภาคใต้). สำนักงานอุนทยานการเรียนรู้.