การวิเคราะห์กลวิธีการขับร้องเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น
คำสำคัญ:
เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง,, สามชั้น, กลวิธีการขับร้องบทคัดย่อ
การใช้เพลงตับต้นเพลงฉิ่ง สามชั้นในการฝึกการร้องเพลงเพื่อเน้นการพัฒนาทักษะการร้องและเทคนิคการออกเสียง การแบ่งแยกวรรคและการเรียนรู้เทคนิคการร้อง มีการสร้างความเข้าใจและรู้เรื่องการขับร้องเพลงไทยเบื้องต้น เพลงตับต้นฉิ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและการหายใจในขณะขับร้องเพลงไทยอย่างถูกต้อง เพลงตับต้นฉิ่งมีลักษณะท่วงทำนองที่ง่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะการร้องเพลงไทยในขั้นตอนของการเรียนรู้การขับร้องเพลงไทย โดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้เสียงและหายใจ รวมถึงการแบ่งวรรคคำและการเอื้อนเสียงให้เกิดความสัมพันธ์กับการผ่อนลมหายใจในขณะขับร้อง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการขับร้องเพลงไทย และช่วยในการนำเสนอเพลงที่ซับซ้อนเพื่อฝึกทักษะการร้องที่มีเทคนิคขั้นสูงขึ้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพลงต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการประยุกต์ใช้ทักษะการขับร้องเพลงไทย
References
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. มหาวิทยาลัยมหิดล
วัฒนวุฒิ ช้างชนะ. (2560). การแห่งดนตรีไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริมนรวิโรฒ. 21(1). 19-33.
Sawangviboonpong, D. (2003). Thai Classical Singing Its History, Musical Characteristics and Transmission. New York USA. Ashgate Publishing.
Smith, H. E. (2006). [Review of Thai Classical Singing: Its History, Musical Characteristics and Transmission, by D. Swangviboonpong]. Crossroads: An Interdisciplinary Journal of Southeast Asian Studies, 17(2), 184–187. http://www.jstor.org/stable/40860830
Roongruang, P. (2001). Thai classical music and its movement from oral to written transmission 1930-1942: historical context, method, and legacy of the Thai manuscript project. Humanities Journal, 9(1) : 26-40
Treitler, L. (1981). Oral, Written, and Literate Process in the Transmission of Medieval Music. Speculum, 56(3), 471–491. https://doi.org/10.2307/2847738