การศึกษาการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ
คำสำคัญ:
พิเชษฐ กลั่นชื่น, โขน, ศิลปะการแสดงร่วมสมัยบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการถอดความรู้ของศิลปินและวิเคราะห์การแสดงโขนคณะนายพิเชษฐ กำกับการแสดงโดยนายพิเชษฐ กลั่นชื่น การออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงโขนชุดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงโขน ณ พิพิธภัณฑ์ The musée du quai Branly, Jacgues Chirac ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส
17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยเปิดการแสดงให้ผู้ชมชาวไทยได้รับชมในวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ณ ลานเครื่องบิน ช่างชุ่ย, กรุงเทพมหานครและจัดแสดง
ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2566 การศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการกำกับดนตรีประกอบการแสดงและทำหน้าที่ขับร้องจึงใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกการทำงานและการสนทนากับผู้กำกับการแสดง นอกจากนั้นยังนำงานเขียนถอดความรู้จากการทำงานของผู้กำกับการแสดงบนสื่อออนไลน์เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์จึงพบว่า แนวคิดหลักในการกำกับการแสดงโขนคณะนายพิเชษฐคือ ความต้องการให้คุณภาพการแสดงโขนยังคงแนวทางตามแบบประเพณีแต่มุ่งเน้นการสร้างคุณภาพของนักเต้น การบรรเลงดนตรีและขับร้อง และการออกแบบท่ารำเพื่อสื่อสารกับผู้ชมร่วมสมัยโดยการรื้อมายาคติของตัวละคร การวิเคราะห์บท การตีความตัวละคร การจัดองค์ประกอบบนเวทีที่สามารถสร้างความหมายทำให้ผู้ชมรู้สึกและเข้าใจสถานการณ์ของเรื่องและตัวละครในขณะชมการแสดงโขน
References
จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธุ์. (2562). ถอดบทเรียนเทพประนม ทฤษฎีแม่บทของศิลปินพิเชษฐ กลั่นชื่นเป็นการเรียนการสอน. ปรากฏการณ์การแสดง, โครงการวิจัยการแสดง: สร้างสรรค์ งานวิจัยสาขาศิลปะการแสดงไทย. บจก.ภาพพิมพ์.