กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง

ผู้แต่ง

  • ชนะใจ รื่นเริง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภัทระ คมขำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ตะโพน, ภูมิใจ รื่นเริง, กรรมวิธีการสร้าง

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับตะโพน ศึกษาประวัติชีวิตและกรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ รื่นเริง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่าตะโพนคือเครื่องหนังที่ใช้บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากกลองโบราณของอินเดีย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานโดยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตัวกลองขึงด้วยหนังสองหน้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้ามัดประมาณ 8 นิ้ว หน้ารุ่ย 9 นิ้ว ความยาว 19 นิ้ว ความสูง 21 นิ้ว ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่นักดนตรีไทยต่างสักการะบูชา เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เปรียบดังสัญลักษณ์แทนองค์พระปรคนธรรพ เทพสังคีตาจารย์แห่งดนตรี ครูภูมิใจ รื่นเริงเป็นช่างทำระนาดและกลองไทยทุกชนิด ได้รับสืบทอดภูมิปัญญาช่างจากครูเสน่ห์ ภักตร์ผ่อง กรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมหุ่นตะโพน การเตรียมไส้ละมาน การตัดหนังเรียด การเตรียมหน้าตะโพน การแกะสลักเท้าตะโพนและการขึ้นตะโพน ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในกรรมวิธีการสร้างตะโพนของครูภูมิใจ คือ วิธีการร้อยหนังเรียด วิธีการถักไส้ละมาน สัดส่วนของหุ่นตะโพนและการสาวตะโพนด้วยการใช้หัวเข่าเป็นอวัยวะค้ำยันหุ่นกลอง 

 

References

พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่อความชื่นชม. กรุงเทพฯ: สยามสมัย.

ภูมิใจ รื่นเริง. (2551). กรรมวิธีการสร้างกลองแขกของครูเสน่ห์ ภักตร์ผ่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริ เอนกสิทธิสิน. (2558). กรรมวิธีการสร้างกลองปูจาของครูญาณ สองเมืองแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมพงษ์ นุชพิจารณ์. (2535). ตำราตะโพน ขุนสำเนียงชั้นเชิง (มล โกมลรัตน์). (พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนายสมพงษ์ นุชพิจารณ์ ณ เมรุวัดตรีทศเทพ วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2535)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024