กรรมวิธีการผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน

ผู้แต่ง

  • ชลลพรรษ เด็จใจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ซออู้, อวรัช ชลวาสิน, กรรมวิธีการผลิต

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติการผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน ศึกษากรรมวิธีการผลิตซออู้และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงซออู้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูอวรัช ชลวาสิน ได้เริ่มทดลองประดิษฐ์ซออู้คันแรกตั้งแต่อายุ 13 หลังจากนั้นจึงเริ่มสั่งสมความรู้ด้านดนตรีไทย งานศิลปกรรม ความรู้ด้านวิศวกรรมตลอดมาและได้เปิดโรงงานผลิตเครื่องดนตรีไทยชื่อว่า โรงงานสายเอก จนกระทั่งประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะซออู้ ไม้ที่ใช้ผลิตซออู้ของครูอวรัช ชลวาสิน ได้แก่ ไม้ Snakewood กรรมวิธีการผลิตซออู้มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การคัดเลือกกะลาและการแกะสลักลาย 2. การขึ้นหน้าซอ 3. การกลึงคันทวนลูกบิดและคันชัก 4. การเจาะคันทวนประกอบลูกบิด 5. การขึ้นหางม้า 6. การปรับบัวเข้ากะโหลก 7. การทำสี 8. การประกอบซอและปรับแต่งเสียง ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในการผลิตซออู้ของครูอวรัช คือ โครงสร้างยึดตามแบบกระสวนดุริยบรรณ หนังสำหรับขึ้นหน้าซออู้ การผูกลายแกะแบบทับซ้อนมุมมีดในการแกะที่ใช้พรางตาและก่อให้เกิดมิติ การออกแบบลายเฉพาะแต่ละคัน และการเดินเส้นไม้พุดรอบขอบหนัง

References

ปัญญา รุ่งเรือง. (2521). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ตั้งปณิธาน อารีย์. (2554). กรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิใจ รื่นเริง. (2551). กรรมวิธีการสร้างกลองแขกของครูเสน่ห์ ภักตร์ผ่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ นาคคง. (2561). กะลามหัศจรรย์เสกสรรค์เป็นซออู้. วัฒนธรรม, 57(3), 30-37. สืบค้นจาก http://article.culture.go.th/index.php/layouts-modules-positions/-column-layout-3/262-2021-07-28-14-33-48

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024