กลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ

ผู้แต่ง

  • นรพิชญ์ เลื่องลือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขำคม พรประสิทธิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลวิธีการขับร้อง, เพลงหุ่นกระบอก, ครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ

บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงหุ่นกระบอกและศึกษากลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พุทธศักราช 2436 หม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนาได้นำรูปแบบหุ่นครูเหน่งมาสร้างและตั้งเป็นคณะหุ่นคุณเถาะที่กรุงเทพมหานครและได้เกิดคณะหุ่นขึ้นอีกหลายคณะ อาทิ คณะหุ่นนายเปียก คณะหุ่นนายวิง เป็นต้น การแสดงหุ่นกระบอกนิยมแสดงโดยใช้วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี บรรจุด้วยเพลงหน้าพาทย์ เพลงเกร็ด และเพลงหุ่นกระบอก บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่ มีซออู้ทำหน้าที่สีเพลงหุ่นกระบอก การขับร้องสำหรับการแสดงหุ่นกระบอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขับร้องเพลงเกร็ดสองชั้น ชั้นเดียว และขับร้องเพลงหุ่นกระบอก ซึ่งลักษณะการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเป็นการร้องเคล้าไปกับทำนองซอโดยมีระดับเสียงทางกลางแหบ (มฟซXทดX) เป็นระดับเสียงหลัก ในการขับร้องมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ การขับร้องร้องลงธรรมดาเพื่อเจรจาหรือรับด้วยเพลงดำเนินทำนองทั่วไป การขับร้องทำนองหุ่นตลก การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงเชิด รัว และเสมอ การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงโอด จากการศึกษาทั้ง 4 รูปแบบพบว่า มีการใช้กลวิธีขับร้องทั้งหมด 13 กลวิธี ได้แก่ การปั้นคำ การเน้นเสียงเน้นคำ การเล่นเสียง การเอื้อนสามเสียง การโปรย หางเสียง การสะบัดเสียง การกระทบ การช้อนเสียง การผันเสียง การครั่นเสียง การโยกเสียง และการลักจังหวะ

References

จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2529). หุ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

ท้วม ประสิทธิกุล. (2529). หลักคีตศิลป์. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2524). อนุสรณ์ฌาปนกิจศพคุณพ่อเสนาะ ศิลปดนตรี คุณแม่สมนึก ศิลปดนตรี. ม.ป.พ.

ปริญญา ทัศนมาศ. (2560). วิเคราะห์ทางขับร้องเพลงละครและเพลงหน้าพาทย์บทคอนเสิร์ตตับนางลอย บ้านพาทยโกศล โดยครูอุษา แสงไพโรจน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2552). เพลง ดนตรี และนาฏศิลป์จากสาส์นสมเด็จ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

มนตรี ตราโมท. (2518). การละเล่นของไทย. กรุงเทพมหานคร: ขนิษฐ์การพิมพ์.

วันชัย เอื้อจิตรเมศ. (2541). การวิเคราะห์เพลงเชิดหุ่นกระบอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024