การถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)

ผู้แต่ง

  • ยศพล คมขำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขำคม พรประสิทธิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การถ่ายทอด, เพลงสระหม่าใหญ่, ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)

บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เรื่องการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์โครงสร้างทำนองปี่ชวา หน้าทับสระหม่าใหญ่ และวิธีการถ่ายทอดใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าเพลงสระหม่าใหญ่มีโครงสร้าง 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองสระหม่า ทำนองโยน ทำนองแปลง ทำนองสระหม่ากับทำนองโยนมีลักษณะพิเศษคือ ไม่มีจังหวะตายตัว สามารถยืดหรือขยายทำนองได้อิสระภายใต้โครงสร้างทำนองเพลง ทำนองแปลงมีลักษณะประโยคเพลงปกติแต่สามารถขยายหรือลดทอนทำนองในบางส่วนลงได้ หน้าทับเพลงสระหม่าใหญ่ประกอบด้วยหน้าทับ 3 ไม้หลักได้แก่ ไม้ต้น ไม้โปรย ไม้แดก ในแต่ละไม้จะมีทำนองโยนมาคั่นและจะมีหน้าทับย่อยลงไป มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกับเพลงเชิดคือเป็นการเปลี่ยนหัวไม้และซ้ำท้าย เมื่อบรรเลงครบทุกไม้กลองแล้วจะเข้าสู่หน้าทับแปลงโดยกลองแขกตัวผู้จะตีเรียกทำนอง ตัวเมียก่อนออกแปลง หลังทำนองแปลงจะจบด้วยทำนองที่เรียกว่า หยดน้ำ สำหรับการถ่ายทอดเพลงสระหม่าใหญ่ของครูปี๊บ คงลายทองปรากฏ 2 แบบ แบบแรกต้องทำพิธีการคำนับครู แบบที่สองเป็นการนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาครู การถ่ายทอดเริ่มที่เพลงสระหม่า โยน แปลง จนกระทั่งจบกระบวนเพลงสระหม่าใหญ่ หลังจากนั้นเป็นการอธิบายข้อปฏิบัติและการนำเพลงไปใช้ ซึ่งพบว่ากฎที่เคร่งครัดของเพลงสระหม่าใหญ่ก็คือห้ามนำไปใช้งานอวมงคลเด็ดขาด และหลังจากการบรรเลงเสร็จเรียบร้อยทุกครั้ง นักดนตรีต้องทำบุญอุทิศบุญกุศลให้แก่ครูดนตรีไทย ซึ่งสิ่งนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น

References

ธนิต อยู่โพธิ์. (2500). เครื่องดนตรีไทยของธนิต อยู่โพธิ์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2559). เครื่องสายปี่ชวา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2540). ปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์ชวา. หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนายชั้น ดุริยประณีต ณ เมรุวัดสังเวชวิศยาราม วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2497.

รณฤทธิ์ ไหมทอง. (2561). การถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูบุญธรรม คงทรัพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริ อเนกสิทธิสิน. (2557). อาศรมศึกษา: ครูปี๊บ คงลายทอง. ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2557 ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024