สหบทในละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ ชัยปัญหา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ละครชาตรี, ละครร่วมสมัย, สหบท

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์ละครชาตรีร่วมสมัยของประดิษฐ ประสาททอง ในด้านสหบทจากละครชาตรีร่วมสมัย 3 เรื่อง ได้แก่ แก้วหน้าหมา นางสิบสาม  และมโนรีย์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร วิดีทัศน์ และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันละครชาตรีอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ทางหลวง ทางพื้นบ้าน  ทางร่วมสมัย และทางสถาบัน เจตนาของประดิษฐ มุ่งสื่อสารกับกลุ่มสถาบันเพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่จากทางละครชาตรีทางหลวงและมุ่งเชิดชูทางพื้นบ้านว่ายังเป็นการสร้างสรรค์ร่วมสมัยและมีชีวิต ในด้านสหบทพบ การสหบทด้านเนื้อหาและสหบทกับบริบททางสังคม ในด้านเนื้อหา ประดิษฐ์ได้นำบทละครชาตีดั้งเดิมมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่โดยอิงกับตัวบทละครชาตรีดั้งเดิม 3 เรื่อง ได้แก่เรื่องแก้วหน้าม้า นางสิบสอง และมโนราห์ และบทละครรำ 1 เรื่อง ได้แก่ อิเหนา  สหบทด้วยกลวิธีการยืมโครงเรื่อง การยืมชื่อตัวละคร การยืมชื่อเรื่อง และการยืมอนุภาค ด้านสหบท กับบริบททางสังคมพบกลวิธีการเทียบเคียงกับสถานการณ์การเมืองไทย ภาวะโลกร้อน และประวัติศาสตร์ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ในด้านการสร้างสรรค์ยังคงใช้รูปแบบการแสดงแบบละครชาตีแต่ปรับลดขนาดให้เหมาะกับการเล่นแบบละครเร่มากขึ้น โดยยังคงมีโหมโรง รำซัดหน้าเตียง การร้อง การรำ  ทางดนตรีคงกรับไม้ไผ่ไว้เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการสร้างตัวละครที่มีลักษณะตัวละครกลมซึ่งแตกต่างจากการสร้างบทละครแบบดั้งเดิมที่เป็นตัวละครแบบฉบับ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามกับตัวละครและเรื่องราว การสร้างสรรค์ด้วยมโนทัศน์เชิงวิพากษ์เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นการหักล้างหรือต่อด้านขนบ หากแต่เป็นการช่วยสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่ศิลปะการละครไทยได้ในสังคมร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สัมพันธบท (Intertexuality): เหล้าเก่าในขวดใหม่ ในการสื่อสารศึกษา. วารสารนิเทศาสตร์. 27(2). 1-29.

สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2547). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (เล่มที่ 23). กรุงเทพฯ: อาคารโครงการสารานุกรมไทยฯ.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2549). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ วรรณคดีเปรียบเทียบ: กระบวนทัศน์และวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2548). สัมพันธบท (Intertextuality) ในฐานะวิธีการหนึ่งของวรรณคดีวิจารณ์. มนุษยศาสตร์สาร. 6(1). 1-13.

ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2548). นางกากี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(1).

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2543). นิทานพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประดิษฐ ประสาททอง. (2558). บทละครเรื่องแก้วหน้าหมา. อัดสำเนา.

ประดิษฐ ประสาททอง. (2560). บทละครเรื่องนางสิบสาม. อัดสำเนา.

ประดิษฐ ประสาททอง. (2561). บทละครเรื่องมโนรีย์. อัดสำเนา.

มานิตย์ โศกค้อ. (2557). วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และการต่อรองเชิงอํานาจ : กรณีศึกษากลอนลําของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 1(1), 31-52.

มนตรี ตราโมท. (2497). การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

วินัย ภู่ระหงษ์. (2520). พระสุธน-นางมโนราห์ : การศึกษาเปรียบเทียบที่มาและความสัมพันธ์ระหว่างฉบับต่าง ๆ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวภา เวชสุรักษ์. (2561). “ผลงานวิจัยการสร้างสรรค์ละครชาตรีเครื่องใหญ่เรื่อง กากี ตอนพญาครุฑ ลักนางกากี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(1), 238-253

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2563). ละครชาตรี : ภาษาและวัฒนธรรมไทยในอนาคต. การประชุมวิชาการ เรื่อง “ละครชาตรี : ภาษาและวัฒนธรรมไทยในอนาคต”. สำนักศิลปกรรมร่วมกับวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

Sukanya Sompiboon. (2012). The Reinvention of Thai Traditional-Popular Theatre: Contemporary Likay Praxis. University of Exeter as a thesis for the degree of Doctor of Philosophy in Drama.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024