ประโยชน์ของการฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลง ที่มีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและใจในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ดนตรีบำบัด, การหายใจ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การฝึกหายใจด้วยดนตรีบำบัดผ่านกิจกรรมร้องเพลงนั้น เป็นกิจกรรมที่ช่วยตอบสนองความต้องของผู้สูงอายุในด้านของการส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ โดยเป็นกิจกรรมที่สามารถทำเดี่ยวหรือทำแบบกลุ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องทำร่วมกับนักดนตรีบำบัดวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหรือจบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับดนตรีบำบัดมาโดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงเป็นผลดีต่อสุขภาวะทางกายและใจของผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากร่างกายได้เสื่อมถอยตามกาลเวลา การจะประกอบกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังกายที่เยอะถือเป็นเรื่องที่ทำยากยิ่งขึ้นในผู้สูงวัยและมีความเสี่ยงหลายมิติ แต่การฝึกหายใจผ่านการร้องเพลงนั้นเป็นการลดข้อจำกัดดังกล่าวให้น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพวะทางกายและใจ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะสังคมของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากได้ประกอบกิจกรรมกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุนั้นไม่ได้รู้สึกถึงการฝึกหายใจเพื่อการรักษา แต่เป็นเพียงการทำกิจกรรมกับตนเอง ครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนซึ่งช่วยให้เกิดแรงจูงใจ และความถี่ในการฝึกฝนมากยิ่งขึ้น
References
ทรงวรธรรม สมกอง. (2565). ผลของดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุดม อรุณรัตน์. (2526). ดุริยางคดนตรีจากพระพุทธศาสนา. นครปฐม: แผนกบริการกลาง สำนักงานอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุทัย สุดสุข, พิทยา จารุพูนผล, ประยูร ฟองสถิตกุล, จรัลเกวลินสฤษดิ์, สัมฤทธิ์ จันทราช, จรรยา เสียง เสนาะ และคณะ. (2552). รายงานการวิจัยโครงการศึกษาสถานการณ์ความ Health Problems and Health Care Needs among Thai Elderly: Policy Recommendationsสามารถในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน-การวิจัยแห่งชาติ.
Behne, K. E. (1997). The development of musical abilities. In I. Deliège & J. A. Sloboda (Eds.), Perception and cognition of music (pp. 148-168). Psychology Press.
Bruscia, K. E., & Hesser, B. (1981). Defining music therapy. Journal of Music Therapy, 18(1), 7-19.
Dileo, Cheryl. (2021). Journal of Urban Culture Research, 23. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JUCR/article/view/255933.
Hergenhahn, B. R. (2001). An Introduction to the History of Psychology (4th ed.). Wadsworth.
Kinsler, L. E., Frey, A. R., Coppens, A. B., & Sanders, J. V. (1982). Fundamentals of Acoustics (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Maslow, A. H. (1959). Motivation and Personality (2nd ed.). Harper & Row.
Mer, M.B. (1965). Philosophy and the Science of Behavior. New York: Appleton-Crofts.
Thomas, B. L., & Thomas, C. (1982). Cytogerontology since 1881: A reappraisal of August Weismann and a review of modern progress. Human Genetics, 60.
Wiens, M. E., Reimer, M. A., & Guyn, L. H. (1999). Music Therapy as a Treatment Method for Improving Respiratory Muscle Strength in Patients with Advanced Multiple Sclerosis: A Pilot Study. Rehabilitation Nursing, 24(2). https://doi.org/10.1002/j.2048-7940.1999.tb01840.x