กระบวนการประพันธ์เพลง “THE GLAMOUR OF CHONBURI”

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย เจริญสุขสนาน คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เพนทาโทนิก, ไลท์โมทีฟ, เทคนิคการคัดทำนอง

บทคัดย่อ

     งานวิจัย เรื่อง กระบวนการประพันธ์เพลง “The Glamour of Chonburi”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอกระบวนการประพันธ์เพลง " The Glamour of Chonburi " และ เพื่อสร้างบทประพันธ์เพลงที่ถ่ายทอดเรื่องราวถึงเอกลักษณทางด้านประเพณีของจังหวัดชลบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ บทเพลง The Glamour of Chonburi ได้รับแรงบันดาลใจจากประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดชลบุรีทั้ง 3 ประเพณีได้แก่ ประเพณีกองข้าวศรีราชา ประเพณีแห่พญายม และประเพณีวิ่งควาย โดยวัตถุประสงค์ของการประพันธ์คือเพื่อสร้างผลงานการประพันธ์เพลงที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีในเสียงและสำเนียงของดนตรีตะวันตกประสมดนตรีไทย ผู้วิจัยได้สร้างบทประพันธ์นี้สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม วงขับร้องประสานเสียง และวงดนตรีไทย ความยาวประมาณ 17 นาที 

     ในวิธีการประพันธ์เพลงผู้วิจัยได้ศึกษา วิเคราะห์บทประพันธ์ของคีตกวีเอกของชาวตะวันตกและชาวไทยที่ประพันธ์บทเพลงประเภทดนตรีพรรณนาทั้งในด้านวิธีและมุมมองการบรรยายเรื่องราวด้วยประโยคเพลง (Phrase)  พื้นผิวทางดนตรี (Texture) สังคีตลักษณ์ (Musical form) โครงหลักของเสียงประสาน (Structure of Harmony)  และเทคนิคการประพันธ์ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานประพันธ์ของตนเองให้มีความสมบูรณ์ สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้ฟังได้เข้าถึงงานศิลป์ทางเสียง

     บทเพลง The Glamour of Chonburi แบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ ซึ่งในแต่ละช่วงนั้นถูกแบ่งโดยอัตราความเร็วของจังหวะ กำหนดลีลาและอารมณ์ รูปแบบของการบรรเลง โดยใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงหลักที่หลากหลาย คือ เทคนิคการคัดทำนอง (Quotation) แนวคิดการใช้หน่วยทำนองจากเพลงไทย บันไดเสียงเพนทาโทนิก ไลท์โมทีฟ (Leitmotif) ด้วยการผ่านกระบวนการสร้างสรรค์และศึกษาองค์ความรู้ผู้วิจัยพบว่า การประสมเสียงเพื่อสื่อสารข้อความและเรื่องราวอย่างลุ่มลึกนั้นจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบของความรู้และทักษะการประพันธ์เพลงที่หยั่งลึกเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยมีความมุ่งหวังให้บทเพลง The Glamour of Chonburi นี้เปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุที่บันทึกและเผยแพร่เสน่ห์ของจังหวัดชลบุรี

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

วานิช โปตะวนิช. (2558). บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ : เทวะ สวีทสำหรับวงออร์เคสตรา. (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมรัตน์ ทองแท้. (2538). ระบำในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/58543 อ้างอิงจากเว็บไซต์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ประเพณีแห่พญายม. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จาก https://oer.lib.buu.ac.th/search_detail/result/1110

สหกรณ์บริการส่งเสริมอาชีพและวัฒนธรรมชลบุรี จำกัด. (2563). ประเพณีวิ่งควาย. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จาก https://cmpccoop.com/?p=1768

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024