การผลิตไม้ตีฆ้องมอญ กรณีศึกษาครูชลอ ใจชื้น
คำสำคัญ:
การผลิต, ไม้ตีฆ้องมอญ, ครูชลอ ใจชื้นบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ คือ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตไม้ตีฆ้องมอญกรณีศึกษาครูชลอ ใจชื้น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ขอบเขตในการวิจัย เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการขั้นตอนทำไม้ตีฆ้องมอญตาม แนวทางของ ครูชลอ ใจชื้น เท่านั้น ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาแนวคิด เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาจากครูชลอ ใจชื้น 3. เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผล 5. สรุปผลการวิจัย อีกทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน
ผลจากการศึกษาพบว่า ครูชลอ ใจชื้น ปัจจุบันอายุ 87 ปี มีประสบการณ์การทำไม้ตี และ
การซ่อมบำรุงเครื่องดนตรีมานานกว่า 60 ปี ด้วยการศึกษาจากฝีมือชั้นครูหลายท่าน เช่น ครูพริ้ง ดนตรีรส หม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล ครูสอน วงฆ้อง ครูเทียบ คงลายทอง เป็นต้น การทำไม้
ตีฆ้องมอญส่วนใหญ่นิยมใช้ คือ ไม้สัก ไม้ชิงชัน เนื่องจากคุณภาพเรื่องของน้ำหนัก และความทนทาน แต่ไม้ที่ผู้วิจัยเลือกนั้นคือไม้แก้ว อีกทั้งยังมีด้ายดิบ ผ้าดิบ และแป้งเปียกที่เป็นส่วนสำคัญทางด้านคุณภาพเสียง โดยสามารถจำแนกขั้นตอนได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเลือกไม้ ขั้นที่ 2 นำปากกามาขีดตรงกึ่งกลางของท่อนไม้ ขั้นที่ 3 เลื่อยท่อนไม้ตามรอยปากกา ขั้นที่ 4 ถากไม้ให้ได้ทรงยาว และมีศูนย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม ขั้นที่ 5 นำไปกลึงให้ได้ทรง ขั้นที่ 6 พันด้ายดิบให้เต็มบริเวณส่วนที่ตี ขั้นที่ 7 นำผ้าดิบมาตัดให้ได้ตามความยาวที่กำหนดไว้ หลังจากพันผ้าเสร็จให้นำมาคลึง ขั้นที่ 8 เก็บรายละเอียดทั้งหมดให้เรียบร้อยสมบูรณ์
References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2530). หนังสือเครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.
ธเนศ ชิตท้วม. (2552). การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคู่มือกรรมวิธีการสร้างไม้ดีดกลองแขกตามแนวคิดของอาจารย์ชลอ ใจชื้น. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีเละนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานันท์ นาคคง. (2539). หนังสือระลึกในงานไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2539 คีตกรรมหลังความตาย. ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.
อานันท์ นาคคง. (2537). ยังไม่สิ้นเสียงกลอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.