คุณลักษณ์เพลงกล่อมลูก 4 ภาคของไทย
คำสำคัญ:
คุณลักษณ์, เพลงกล่อมลูก, 4 ภาคไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง คุณลักษณ์เพลงกล่อมลูก 4 ภาคของไทย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภูมิบท บทบาท คุณค่า และความสำคัญของเพลงกล่อมลูก และเพื่อศึกษาทำนอง ระดับเสียง จังหวะ ฉันทลักษณ์ และสำเนียงภาษาของเพลงกล่อมลูก ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ จากการสัมภาษณ์และจากการลงภาคสนาม
ผลการวิจัยพบว่า ภูมิบท บทบาท คุณค่า และความสำคัญของเพลงกล่อมลูก มีคุณลักษณ์เหมือนกันทั้งหมด เพลงกล่อมลูกถูกจัดเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ใช้ร้องกล่อมลูกเพื่อให้เด็กนอนหลับไปด้วยความอบอุ่นใจ บทประพันธ์ใช้ภาษาที่มีความเรียบง่าย เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งสรุปได้ว่า ระดับเสียงในการร้องกล่อมลูกทั้ง 4 ภาคเปิดโอกาสให้ผู้กล่อมกำหนดระดับเสียงได้ด้วยตัวเอง ส่วนคุณลักษณ์ของสำเนียงภาษาของเพลงกล่อมลูกทั้ง 4 ภาคใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่ใช้คำราชาศัพท์ ฟังแล้วเข้าใจทันที สำเนียงที่ใช้เป็นไปตามภาษาถิ่น ส่วนคุณลักษณ์ของทำนองกล่อมลูก 4 ภาค ด้านทำนองสรุปได้ว่า มีความต่างกัน และคุณลักษณ์ด้านจังหวะและฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมลูกทั้ง 4 ภาค สรุปได้ว่า มีความเหมือนกัน
References
กรรชิต จิตระทาน. (2530). สังคีตอธิบายเพลงกล่อมลูกภาคกลาง. งานวิจัยหลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต. ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). ทฤษฎีเพื่อการวิจัยและสารัตถบทดนตรี. ลพบุรี: โรงพิมพ์นาฏดุริยางค์.
ดวงเดือน หลงสวาสดิ์. (2547). เพลงกล่อมลูกภาคกลางบ้านปากลัด ตำบลคลองเขิน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
ประคอง ฮะสม และเอื้อมพร กิจวิวัฒนกุล. (2516). คติชาวบ้านในบทกล่อมเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผาสุก มุทธเมธา. (2535). คติชาวบ้านกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ยุทธ เดชคำรณ (2520). คติชาวบ้านไทย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลมูล จันทน์หอม. (2537). โลกทัศน์ชาวล้านนาศึกษาจากเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือ. เชียงใหม่.