การใช้อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน
คำสำคัญ:
อาวุธ, ตัวยักษ์, การแสดงโขนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง วิธีการใช้อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ มุ่งเน้นให้เห็นถึงหลักการ ทฤษฎี กลวิธีและแนวทางในการปฏิบัติ เรื่องการใช้อาวุธลักษณะต่าง ๆ ในการแสดงโขนของตัวยักษ์ ผลศึกษาพบว่า อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขนเป็นอาวุธที่มีลักษณะเฉพาะถูกจำลองมาจากอาวุธจริง มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการแสดง และบางชนิดก็ถูกสร้างขึ้นมาจากจินตนาการ อาวุธของตัวยักษ์สามารถแบ่งตามลักษณะได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ อาวุธสั้น อาวุธยาว และอาวุธพิเศษ วิธีการใช้อาวุธแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป ได้แก่ การตี การแทง การขว้าง การพุ่งและการควง อีกทั้งยังมีกลวิธีของการใช้อาวุธระหว่างคู่ต่อสู้ ซึ่งมีวิธีการในการใช้ที่แตกต่างกันตามลักษณะของอาวุธที่ใช้ ผู้แสดงโขนตัวยักษ์จึงต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธแต่ละประเภท เพราะการแสดงโขนตัวยักษ์ต้องมีลักษณะที่แข็งแรงและคล่องแคล่ว ผู้แสดงจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการใช้อาวุธแต่ละชนิด เพื่อสื่อให้เห็นถึงความสวยงามและความสง่างามของตัวละครที่ใช้อาวุธในขณะที่ทำการแสดง
References
ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2514). ศัสตราวุธของตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์. ศิลปนิพนธ์ประกาศนียบัตรวิชานาฏศิลปชั้นสูง สาขาวิชานาฏศิลป โรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร.
ประเสริฐ สันติพงษ์. (2545). กระบวนท่ารำของรามสูรในการแสดงเบิกโรงละครใน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2538). กระบวนการรบของพญาวานรในการแสดงโขน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชา บุญยัง. (2543). การแสดงโขนของอากาศตไล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.