รูปแบบบทการแสดงแสง เสียง สื่อผสม ในวัง ณ วังหน้า

ผู้แต่ง

  • อัมไพวรรณ เดชะชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธีรภัทร์ ทองนิ่ม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การออกแบบบทการแสดง, การแสดงแสง เสียง สื่อผสม, ในวัง ณ วังหน้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการแสดงแสง เสียง สื่อผสม ในวัง ณ วังหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบบทการแสดง ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยแบบเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย การรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์และประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับความทรงจำที่เกิดขึ้น ณ วังหน้า เฉพาะบริเวณพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาสหรือวิทยาลัยนาฏศิลป ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลดังกล่าวจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเอกสารต่าง ๆ  จากนั้นผู้วิจัยจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบบทการแสดง ผลการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งรูปแบบการออกแบบบทการแสดงได้ทั้งหมด 5 องก์ ได้แก่ องก์ 1 เล่าย้อนบวรสถาน กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้ง 6 พระองค์ องก์ 2 อลังการงานช่างศิลป์ กล่าวถึงความงามในมิติต่าง ๆ ของพระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส องก์ 3 ลือระบิลถิ่นศึกษา กล่าวถึงตึกและอาคารเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลป องก์ 4 เรืองพัฒนานาฏกรรม กล่าวถึงพระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และองก์ 5 วิจิตรล้ำวังบวร กล่าวถึงความงามของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและสดุดีกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทั้ง 6 พระองค์ ทั้งนี้ผลที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ

References

กรมศิลปากร. (2556). พระราชวังบวรสถานมงคล, พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

ธำมรงค์ บุญราช. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำวิจารณ์คุณสมบัติการเป็นนาฏยศิลปิน ของนราพงษ์ จรัสศรี. (ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2537). วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน หนังสือ 60 ปี วิทยาลัยนาฏศิลป 17 พฤษภาคม 2537. (47). พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2558). ปวัติยานุกรม, พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: นุชาการพิมพ์.

สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2539). วิวัฒนาการและอนาคตภาพของวิทยาลัยนาฏศิลปในการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ส่องชาติ ชื่นศิริ (2550). เปล่งประกายเพชรจรัสสมัย ใน พลอยแกมเพชร. กรุงเทพมหานคร อ้างถึงใน หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ส่องชาติ ชื่นศิริ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2561 หน้าที่ 45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024