ผลของดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ

ผู้แต่ง

  • ทรงวรธรรม สมกอง สาขาดนตรี (ดนตรีบำบัด) ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กานต์ยุพา จิตติวัฒนา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิอร เตรัตนชัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ดนตรีบำบัด, โควิด 19, การฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของดนตรีบำบัดที่ช่วยในการฟื้นฟูประสิทธิภาพการหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่พ้นระยะแพร่กระจายเชื้อ และศึกษาความพึงพอใจจากการรับบริการดนตรีบำบัดของผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 13 ราย โดยกิจกรรมดนตรีบำบัดประกอบไปด้วย การฝึกหายใจประกอบดนตรี และกิจกรรมการร้องเพลงแบบกลุ่ม ในการศึกษานี้ใช้แบบประเมินการหายใจผ่านเสียงพูด และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ในการเก็บข้อมูล และผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถเปล่งเสียงก่อนและหลังการบำบัด และการอธิบายเชิงพรรณนาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 92 ของผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถเปล่งเสียงได้นานขึ้น ซึ่งตรวจวัดโดยพยาบาลวิชาชีพด้วยแบบประเมินการหายใจผ่านเสียงพูด และจากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการรับบริการดนตรีบำบัดพบว่าร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความประทับใจ เพลิดเพลินกับกิจกรรมดนตรีบำบัด ทำให้การฝึกฝนไม่น่าเบื่อ และเสมือนว่ากำลังทำกิจกรรมดนตรีมากกว่าที่จะต้องรู้สึกว่าฝึกหายใจ ดังนั้นแล้วการเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจให้ดีขึ้นจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการใช้กิจกรรมดนตรีบำบัดนั้นทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยรู้สึกสนุกเพลิดเพลินในการฝึกฝน อันนำไปสู่การฝึกฝนที่ต่อเนื่อง อีกทั้งยังใช้หน้าที่ขององค์ประกอบทางดนตรีที่มีผลต่อการรักษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบดนตรีที่ใช้ในการฝึกฝน

References

Carfì, A., Bernabei, R., & Landi, F. (2020). Persistent Symptoms in Patients After Acute COVID- 19. JAMA, 324(6), 603. https://doi.org/10.1001/jama.2020.12603

Koufman J, Isaacson G. Voice disorder. The Otolaryngology Clin North Am 1991 Oct; 24(5): 985-1286

Makkar, P., & Pastores, S. M. (2020). Respiratory management of adult patients with acute respiratory distress syndrome due to COVID ‐19. Respirology, 25(11), 1133–1135. https://doi.org/10.1111/resp.13941

Missy Vineyard. (2007). How You Stand, How You Move, How You Live: Learning the Alexander Technique to Explore Your Mind-Body Connection and Achieve Self-Mastery: Perseus Books Group Publication.

Trost, W.J.; Labbé, C.; Grandjean, D. Rhythmic entrainment as a musical affect induction mechanism. Neuropsychologia 2017, 96,96–110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024