การวิเคราะห์และตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงมาร์ช ประพันธ์โดย จอห์น ฟิลิป ซูซา
คำสำคัญ:
ปิคโคโล, เพลงมาร์ช, จอห์น ฟิลิป ซูซาบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์การวิเคราะห์และตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ช ประพันธ์โดย จอห์น ฟิลิป ซูซา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ เน้นที่บทประพันธ์เพลงมาร์ช ของจอห์น ฟิลิป ซูซา 5 บทประพันธ์ โดยบทประพันธ์ทั้ง 5 ของจอห์น ฟิลิป ซูซา ได้จัดเผยแพร่โน้ตผ่านวารสารในชื่อ “The Complete Marches of John Philip Sousa” เริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 6 โดย “The President’s Own” United States Marine Band โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์บทประพันธ์เพลงมาร์ชของจอห์น ฟิลิป ซูซา ทั้ง 5 บทประพันธ์ 2) เพื่อตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ช ที่ประพันธ์โดยจอห์น ฟิลิป ซูซา
ผลการวิเคราะห์พบว่าบทเพลงทั้ง 5 อยู่ในสังคีตลักษณ์ประเภทมาร์ช นอกจากนี้อัตราความเร็วในบทเพลงของจอห์น ฟิลิป ซูซา จะระบุ March Tempo ผู้วิจัยตีความว่าเป็นจังหวะเร็วที่เหมาะสมกับดนตรีเดินแถวคือโน้ตตัวขาวในอัตราจังหวะ 2/2 เท่ากับ 120-122 และอัตราความเร็วที่ระบุ Marcia brillante ผู้วิจัยตีความว่าเป็นจังหวะเร็วที่เปล่งประกาย คือโน้ตตัวดำเท่ากับ 145 และผลการตีความการบรรเลงปิคโคโลจากบทเพลงคัดสรรประเภทมาร์ชทั้ง 5 บทเพลงเพื่อเป็นแนวทางการบรรเลงปิคโคโลให้ได้ลีลาเสียงตามแนวทางปฏิบัติของจอห์น ฟิลิป ซูซา โดยเน้นถึงความสำคัญของการควบคุมลักษณะเสียง (Articulation) และการควบคุมความเข้มของเสียง (Dynamics) และมีเทคนิคของปิคโคโลดังนี้ 1) การพรมนิ้ว 2) การตัดลิ้นแบบบังคับลิ้นซ้อนสองชั้น (Double Tonguing) 3) การหายใจแบบฉับพลัน 4) การควบคุมลักษณะเสียงแบบมาร์ช 5) การเล่นโน้ตสะบัด 6) การตัดลิ้นแบบบังคับลิ้นซ้อนสามชั้น (Triple Tonguing)
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2549). การวิเคราะห์บทประพันธ์เพลงมาร์ชของจอห์น ฟิลิป ซูซา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Battisti, F. L. (2002). The wind band: A history of the American wind band movement. Meredith Music Publications.
Baines, A. (1991). Woodwind instruments and their history. Faber and Faber.
Brion, K. (2018). The art of piccolo playing in John Philip Sousa's marches. University of Southern Mississippi.