ผลงานสร้างสรรค์การผสมเสียงเพลงประกอบบรรยากาศ : เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ชาคร คุระทอง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พลังพล ทรงไพบูลย์ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เจตนิพิฐ สังข์วิจิตร วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การผสมเสียง, เทคนิคที่ใช้ในการผสมเสียง, เพลงประกอบบรรยากาศ, เมืองโบราณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนองานสร้างสรรค์การผสมเสียงบทเพลงจำนวน 3 บทเพลงได้แก่ 1. เพลงซิมโฟนิกเห่เรือ 2. เพลงราชอาณาจักรแห่งสุวรรณภูมิ และ 3. เพลงจิตวิญญาณรังสรรค์ เพื่อนำไปใช้เปิดประกอบบรรยากาศ ณ สถานที่เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการ โดยทั้ง 3 บทเพลงใช้เครื่องดนตรีไทย จีนและอินเดียผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตก ผู้สร้างสรรค์ได้ศึกษาองค์ประกอบสำคัญของการผสมเสียงโดยหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ โดยมุ่งเน้นใน 4 ประเด็นดังนี้ ประเด็นความสมดุลของเสียง (Balance) การจัดวางตำแหน่งเสียง (Placement) ความชัดเจนของเสียง (Clarity) และเทคนิคที่ใช้ในการผสมเสียง (Mixing Techniques) จากนั้นจึงเริ่มการผสมเสียงโดยยึดกระบวนการตามประเด็นที่ได้กล่าวมาอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลงานการผสมเสียง

จากการศึกษาทำให้ผู้สร้างสรรค์ได้องค์ความรู้ใหม่และนำมาประยุกต์ใช้ในทั้ง 3 บทเพลง เช่น การใช้งานตัวประมวลผลเสียงคอมเพรสเซอร์ 2 ตัวต่อเนื่องกัน หรือการรวมกลุ่มของแทร็กเครื่องดนตรีและทำการแทรกตัวประมวลผลเพื่อสร้างความกลมกลืนของเสียงมากยิ่งขึ้น จึงเกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์การผสมเสียงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าไว้

 

References

Case, Alexander U. (2011). Mix Smart Pro Audio Tips for Your Multitrack Mix. Focal Press publications, Waltham, MA 02451

Owninski, Bobby. (2017). The Mixing Engineer’s Handbook Third Edition. Course Technology PTR, Boston, MA 02210

Pejrolo, Andrea., & DeRosa, Richard. (2017). Acoustic and MIDI Orchestration for the Contemporary Composer (2nd edition). Routledge, New York, NY 10017

Savage, Steve. (2014). Mixing and Mastering in the Box. Oxford University Press, network, NY 10016

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2024