ผลงานสร้างสรรค์บทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “THE KING NARAI TRUMPET FANFARE”
คำสำคัญ:
ทรัมเป็ต, ผลงานสร้างสรรค์, การแสดงดนตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานบทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “The King Narai Trumpet Fanfare” ทำการแสดงโดยใช้วิธีการบรรเลงดนตรี รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมทางด้านดนตรีในเชิงอนุรักษ์ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อเป็นผลงานให้แก่จังหวัดลพบุรี รวมถึงนำไปบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างสรรค์บทเพลง โดยนำบทเพลงที่อ้างอิงจากประวัติศาสตร์เมืองลพบุรี จำนวน 3 เพลง ได้แก่ ระบำลพบุรี สุดใจ และสายสมร รวมถึงการนำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบของดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย เข้ามาบรรเลงประกอบร่วมกันในการเดี่ยวทรัมเป็ตเพื่อใช้ในการบรรเลงเพื่อทำการนำเสนอผลงาน
ผลการวิจัยพบว่าผลงานสร้างสรรค์บทเพลงถูกสร้างขึ้นและทำการแบ่งออกเป็น 4 ท่อน ซึ่งในแต่ละท่อนจะทำการบรรเลงด้วยทรัมเป็ตประกอบกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ ซึ่งองค์ประกอบของดนตรีจะประกอบไปด้วย ทำนอง บันไดเสียง เทคนิคเฉพาะของการบรรเลงทรัมเป็ต รูปแบบของอัตราจังหวะที่มีความเรียบง่ายจนพัฒนาขึ้นไปถึงรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหลักที่นำมาใช้ในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงได้รับผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังจากที่ผู้ชมได้รับฟังบทเพลงเดี่ยวทรัมเป็ต “The King Narai Trumpet Fanfare” มีค่าเฉลี่ยรวม 4.61 อยู่ในระดับดีที่สุด
References
วัฒนวุฒิ ช้างชนะ. (2560). กาลแห่งดนตรีไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(1), 19-33.
ผาสุก อินทราวุธ. (2545). ตำนานเมืองลพบุรี (ละโว้). ดำรงวิชาการหนังสือรวบรวมบทความทางวิชาการคณะโบราณคดี, 1(1). 1-28.
วสวัตติ์ พยัคฆกุล และยศ วณีสอน. (2567). ทรัมเป็ตคอนแชร์โตในบันไดเสียงอีแฟลตเมเจอร์ประพันธ์โดย โยเซฟ ไฮเดิน : เทคนิคการบรรเลงและการตีความบทเพลงสำหรับการแสดง. วารสารดนตรีรังสิต, 19(1), 1-14.
สุกรี เจริญสุข. (2559). แตรเฉลิมพระเกียรติ : โดยสุกรี เจริญสุข. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/columnists/news_347757
สุกรี เจริญสุข. (2562). อาศรมมิวสิก : เพลงสายสมรกับสุดใจ ฟื้นชีวิติวิญญาณเพลงที่บ้านราชทูตวิชาเยนทร์. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1639038.
ศุภณัฐ จันทโชติ. (2564). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารบ้านสมเด็จฯ, 3(1), 1-14.
อดิวัชร์ พนาพงศ์ไพศาล. (2566). “ล้านนาสวีท” สำหรับวงเฟล็กซิเบิลอองซอมเบิล. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 116-130.
ดิเรก เกตุพระจันทร์ และวีรชาติ เปรมานนท์. (2566). ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: เทพยดินแดน “เชียงราย” สำหรับวงแจ๊สออนซอมเบิลร่วมสมัย. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 45-57.